dealer_kikawa

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสินค้าแบรนด์ KIKAWA

ปกติทางโรงงาน (ผู้ผลิต) จะมีการตั้งค่าแรงดันลมมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถใช้งานได้นานโดยไม่ต้องปรับแต่อย่างใด ในกรณีที่มีลมอ่อน ซึ่งอาจะมีอาการ ” ปั๊มไม่ตัดการทำงาน” สามารถเช็คได้โดยปิดการทำงานของปั๊ม พร้อมถอดปลั๊ก และทำการตรวจเช็คลม

การตั้งค่าเติมลม
KQ-200 @20 ปอนด์ และ / หรือ 1.5 บาร์
KQ-400 @20 ปอนด์ และ / หรือ 1.5 บาร์
KQ-800 @25 ปอนด์ และ / หรือ 1.8 บาร์

ขั้นตอนการเติมลม
หมุนเปิดฝาออก และเติมลมแบบเดียวกับการเติมลมจักรยาน

หมายเหตุ
ในกรณีปั๊มใช้งานได้ดี ไม่แนะนำให้ทำอะไรในสว่นของถังเพรสเชอร์ เนื่องจากโรงงาน (ผู้ผลิต) ได้มีการตั้งค่าลม / แรงดัน ที่เหมาะสมไว้ให้แล้ว และโดยปกติไม่จำเป็นต้องเติมลมแต่สามารถลองเช็คลม 1-2 ปี / ครั้ง เพื่อเป็นการบำรุงรักษา

ประเภทของเสื้อปั๊มน้ำ มีด้วยกันกัน 3 แบบ ได้แก่ เหล็กหล่อ, เทอร์โมพลาสติก และสแตนเลส

  • เสื้อปั๊มเหล็กหล่อ (Z)
    มีความแข็งแกร่งกว่าพลาสติก เหมาะกับน้ำสะอาด เช่น น้ำประปา (ถ้าผ่านเครื่องกรองน้ำยิ่งดี) มีจำหน่ายเฉพาะห้างสรรพสินค้า ไทวัสดุ, ดูโฮม, เมกาโฮม, โฮมโปร และศูนย์KIKAWA เพิ่มเติม https://kikawathailand.com/dealers/
  • เสื้อปั๊มเทอร์โมพลาสติก (N)
    แม้จะไม่เเกร่งเท่าเหล็กหล่อ แต่ก็รับประกันในความทนทาน ไม่กรอบ แตก หรือหักง่าย ๆ
    เหมาะกับน้ำสะอาด ข้อดีคือ โอกาสเกิดคราบตะกรัน และสนิมเกาะที่เสื้อปั๊มได้ยากกว่าเหล็กหล่อ มีจำหน่ายตามตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ เพิ่มเติม https://kikawathailand.com/all-dealers/
  • เสื้อปั๊มสแตนเลส (S)
    แข็งแกร่งทนทานที่สุด เหมาะกับน้ำสะอาด โอกาสเกิดคราบตะกรัน และสนิมน้อยที่สุด แต่ราคาค่อนข้างสูง มีจำหน่ายตามตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ เพิ่มเติม https://kikawathailand.com/all-dealers/

ควรปิดวาล์วทางน้ำออก

  • ปั๊มน้ำ (ไม่ทำงาน) = ปั๊มน้ำปกติ
  • ปั๊มน้ำ (ทำงานอยู่) = ปั๊มน้ำมีปัญหา

หมายเหตุ : หากปั๊มน้ำมีการทำงานอย่างปกติสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจเช็คใด ๆ หรือทำการใด ๆ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสวิทซ์ควบคุม (Flow Switch) หากปั๊มยังทำงานได้ดี และไม่ควรปรับเพรชเชอร์สวิทซ์ (สวิทซ์แรงดัน) เด็ดขาด

ปั๊มน้ำ คือ เครื่องมือที่ช่วยในการส่งน้ำ ประกอบด้วย mechanic และ Electricity / engine
มี 2 ส่วน มีหัวปั๊มและมอเตอร์ มอเตอร์ทำหน้าที่หมุนให้ตัวปั๊มเคลื่อนที่เพื่อผลักน้ำจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งไปโดยแรงดัน และปริมาณน้ำ ตามการออกแบบของแต่ละการใช้งาน ช่วยเสริมน้ำให้แรงขึ้นไปถึงอีกจุดหนึ่งได้พร้อมกับปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้น
ถ้าเราต้องการปริมาณน้ำมาก แรงดันจะน้อย ถ้าเราต้องการปริมาณน้ำน้อย แรงดันจะมาก

ปัจจุบันปั๊มน้ำที่นิยมใช้มี 4 ประเภท ดังนี้

  1. ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบมีถังแรงดัน
    หลักการทงาน : ควบคุมการทำงานด้วยสวิทซ์แรงดัน (Pressure Switch) ปั๊มจะทำงานเมื่อแรงดันในถังแรงดันต่ำหว่าที่ตั้งไว้และหยุดเมื่อแรงดันสูงถึงกำหนด
  2. ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบแรงดันคงที่
    หลักการทำงาน : ควบคุมการทำงานด้วยสวิทซ์แรงดัน (Pressure Switch) และสวิทซ์ตรวจจับการไหลของน้ำ (Flow Switch) ปั๊มจะทำงานตลอดเวลาที่เปิดน้ำ และจะหยุดเมื่อปิดน้ำ ไม่มีอาการน้ำไหลแรง / เบา ขณะเปิดน้ำ
  3. ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบอินเวอร์เตอร์
    หลักการทำงาน : ควบคุุมการทำงานด้วยระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ปั๊มทำงานตลอดเวลาที่เปิดน้ำ และปั๊มจะพยายามทำงาน ให้น้ำไหลแรงเท่ากัน คือเมื่อเปิดก๊อกน้ำจำนวนมากขึ้น ปั๊มจะหมุนเร็วขึ้น ให้ปั๊มจ่ายน้ำได้มากขึ้น แต่ก็หมุน่เร็วขึ้นได้ค่าหนึ่งเท่านั้น
  4. ปั๊มน้ำธรรมดา (ปั๊มหอยโข่ง)
    หลักการทำงาน : ควบคุมการทำำงานด้วยสวิทซ์ลูกลอย ใช้สูบน้ำถังพักน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ หรือเก็บน้ำบนอาคาร

คำถามที่พบบ่อยอื่นๆ

ปั๊มน้ำที่เราใช้กันทั่วไปทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตรนั้น ปฎิเสธไม่ได้ว่าแทบจะต้องทำงานตลอดเวลา ทำให้ต้องบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงว่า ถ้าเกิดปั๊มน้ำเกิดปัญหาดังนี้ เราจะต้องตรวจเช็คตรงจุดเสี่ยงใดบ้าง เพื่อที่จะแก้ไขได้ตรงจุด ปัญหาดังกล่าวก็คือ ถ้าปั๊มน้ำทำงานแต่ไม่จ่ายน้ำ จะมีสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง

  1. ไม่ได้เติมน้ำก่อนเดินเครื่อง หรือไม่มีน้ำอยู่ในห้องสูบ รวมไปถึงท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม จะทำให้เกิดโพรงอากาศ (Air Pocket) ได้
  2. มีระยะดูดยก (Suction Lift) ที่สูงเกินไป
  3. ค่า NPSH a น้อยกว่า NPSH r คือจะทำให้ปั๊มดูดน้ำไม่ขึ้น กรณีดูดน้ำขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานก็จะลดลงอย่างมาก ปั๊มจะสั่น และมีเสียงดัง
  4. ปลายท่อดูดอยู่ต่ำกว่าผิวของของเหลวไม่มากพอ
  5. เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดรวมของปั๊มที่ออกแบบไว้
  6. มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยู่ในใบพัด

ดังนั้น หากเกิดปัญหาปั๊มน้ำไม่จ่ายน้ำ เราควรตรวจเช็คจากสาเหตุเบื้องต้นดังที่ได้กล่าวมา เพื่อแก้ไขปัญหาทำให้ปั๊มน้ำกลับมาทำงานได้ปกติ และควรเลือกปั๊มให้เหมาะกับการใช้งาน รวมถึงตรวจเช็คปั๊มให้ละเอียดก่อนการใช้งาน และเราจะมาแนะนำวิธีเลือกใช้ปั๊มน้ำในรอบหน้ากันนะคะ

สาเหตุหลักๆ มี 4 ข้อดังนี้

  1. ขนาดของมอเตอร์ปั้มน้ำเล็กเกินไป ทำให้มีกำลังไม่เพียงพอในการดูดและส่งน้ำในระดับแรงดันและปริมาณที่เราต้องการ
    วิธีการแก้ไข : เปลี่ยนขนาดของปั้มน้ำใหม่ เพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งานภายในบ้านที่พักอาศัยของเรา
  2. ระดับของน้ำอยู่ต่ำกว่าตำแหน่งของปลายท่อดูด (มีน้ำไม่พอ หรือ การวางแผนการติดตั้งที่ผิดพลาด)
    วิธีการแก้ไข : ทำการแก้ไขโดยการติดตั้งปลายท่อดูดน้ำให้ได้ระดับ ลึกลงไปภายในน้ำของถังเก็บที่เราจะดูดไปใช้งาน
  3. ปริมาณน้ำที่หล่ออยู่ในถังความดันมีไม่เพียงพอ
    วิธีการแก้ไข : เปิดวาวล์สำหรับน้ำหล่อภายในปั้มออกมาแล้วเติมน้ำเข้าไปใหม่จนล้นแล้วปิดวาวล์คืนตำแหน่งเดิม ก่อนทำการเปิดเดินเครื่องใหม่
  4. มีการอุดตันภายในระบบท่อทางเดินของน้ำ
    วิธีการแก้ไข : ทำความสะอาดระบบท่อ โดยการถอดออกมาทำความสะอาด หรือ หากจำเป็น ไม่สามารถหาตำแหน่งหรือเข้าถึงตำแหน่งที่อุดตันได้ อาจจะต้องเปลี่ยนท่อทางเดินน้ำใหม่