ป้องกันน้ำท่วมให้อยู่หมัด!!!

น้ำทะลัก! คันกั้นน้ำแตก! ตลิ่งพัง! น้ำจ่อท่วม …เวลานี้คงจะต้องติดตามข่าวสารอุทกภัยกันนาทีต่อนาที เพราะสถานการณ์น้ำดูจะเลวร้ายขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับใคร ที่บ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม มวลน้ำยังมา ไม่ถึง แต่ส่อเค้าหรือเริ่มมีน้ำส่งสัญญาณมาบ้างแล้วนั้น คงจะนิ่งนอนใจไม่ได้อีกต่อไป เพราะถ้าช้า…ไม่แน่ว่า บ้านของเราอาจจมน้ำภายในพริบตา!!!

สิ่งที่ต้องทำในเวลานี้สำหรับผู้คนในพื้นที่เสี่ยงภัย นอกจากการเตรียมอาหาร และเก็บข้าวของเตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อแล้ว หากยังพอมีเวลาเราสามารถป้องกันน้ำท่วมบ้านได้ ซึ่งวันนี้เรามีวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล จากคุณ ทองกาญจนา ผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์น้ำท่วมบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ และอีกแนวคิดดี ๆ ในการป้องกันน้ำท่วมบ้านโดยไม่ใช้กระสอบทรายจาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ มาบอกต่อ … นอกจากนี้ยังมีวิธีดี ๆ และได้ผลของคุณสะใภ้อินเตอร์ ที่ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมมาตลอด 4 ปี แต่ปีนี้มีวิธีป้องกัน และน้ำไม่ท่วมเข้าบ้านมาฝากกันจ้า

วิธีป้องกันน้ำท่วมให้อยู่หมัด หลังน้ำท่วมมา 4 ปี [ โดย คุณสะใภ้อินเตอร์

คุณสะใภ้อินเตอร์ผู้ที่ผ่านประสบการณ์น้ำท่วมมาถึง 4 ครั้ง น้ำได้ไหลทะลักเข้าไปในตัวบ้านจนข้างของเสียหายมาหลายครั้ง วิธีป้องกันน้ำท่วมหลายต่อหลายวิธี คุณสะใภ้อินเตอร์ก็ได้ลองทำมาหมด ไม่ว่าจะเป็นตั้งกระสอบทราย หรือดินน้ำมัน แต่วิธีเหล่านั้นก็ไม่สามารถป้องกันน้ำไม่ให้ไหลทะลักเข้ามาได้ … มาวันนี้ จากประสบการณ์ 4 ปีที่เคยผ่านน้ำท่วมมา คุณสะใภ้อินเตอร์ จึงมีวิธีป้องกันน้ำท่วมอย่างอยู่หมัดมาฝากกันครับ

เตรียมการก่อน:

ประสบการณ์ จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ

  1. บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้นมา
  2. กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด

จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้

  1. ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน
  2. ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ
  3. ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่า ไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว
  4. ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน

น้ำมาแล้ว:

เสียง ประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้วในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้า มาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ

เวลา ประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสีย หายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว

จากภาพ:
1. หาวิธียึดให้ติดกำแพงเพื่อป้องกันแรงกระแทกของน้ำจากรถที่วิ่งผ่านโดยจะใช้วิธีทำเป็นเหล็กยันไว้
2. ภายในบ้านในน้ำแผ่นพลาสติกอันซิลิโคนตามร่อง
3. ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน

หวังว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร ที่น้ำเคยท่วมแล้ว จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านแสนรักในครั้ง ต่อไปได้บ้างตามสมควรครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก kapook.com , คุณทองกาญจนา , คุณสะใภ้อินเตอร์