เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับปั๊มน้ำ
- 1. ช่วยด้วย ปั๊มน้ำอู้งาน (ไม่ทำงาน)!! เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
- 2.การใช้ปั๊มน้ำอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยประหยัดพลังงาน
- 3.การตรวจสอบการทำงานของปั๊มน้ำบ้านหลังจากติดตั้งครั้งแรก
- 4.การติดตั้งปั๊มน้ำและการต่อสายไฟ
- 5.ประเภทและการเลือกใช้ปั๊มน้ำบ้าน
- 6.ปั๊มน้ำ Inverter คืออะไร?
- 7.ซ่อมบำรุงปั๊ม/เครื่องสูบน้ำ เมื่อไรดี? (Overhaul of Pump)
- 8.ปัญหาปั๊มน้ำ
- 8.1ปั๊มน้ำจ่ายน้ำออกมาน้อย
- 8.2ปั๊มไม่จ่ายน้ำ
- 8.3ตลับอัดกันรั่ว(Stuffing box) รั่วมากผิดปกติ
- 8.4 ปั๊มสั่นหรือมีเสียงดัง
- 8.5ปั๊มต้องการกำลังงานมากผิดปกติ
- 8.6 ปั๊มเริ่มต้นจ่ายน้ำแล้วขาดหายไป
- 8.7ปั๊มให้แรงดันน้ำน้อย
- 8.8ป๊มร้อนจัดเวลาทำงานหรือหมุนฝืด
- 8.9อายุการใช้งานของกันรั่ว (Packing Seal) สั้นผิดปรกติ
- 8.9 อายุการใช้งานของตลับลูกปืน (Bearing) สั้นผิดปกติ
- การดูเสป็คของปั๊มน้ำอย่างง่ายๆ
เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับปั๊มจุ่ม
เกร็ดความรู้ เครื่องปั่นไฟ
Q : 1. ช่วยด้วย ปั๊มน้ำอู้งาน (ไม่ทำงาน)!! เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
ปั๊ม น้ำโดยทั่วไปที่มอเตอร์จะไหม้เมื่อน้ำไม่ไหลผ่านเครื่องเป็นเวลานานๆ และเครื่องพยายามทำงานเพื่อดึงน้ำเข้าปั๊มจนร้อนจัดและไหม้ แต่ถ้าปั๊มมีระบบป้องกันมอเตอร์ไหม้ ก็จะตัดการทำงานเมื่อร้อนเกิน ต้องรอสักพักปั๊มจะทำงานต่อ (ค่อยเปิดใหม่) แต่ถ้าเปิดแล้วได้ยินเสียงเครื่องทำงานแต่น้ำไม่ไหล ควรทำการล่อน้ำดู โดยเติมน้ำจนน้ำจนเต็มห้องใบพัดแล้ว ปั้มจะทำงานใหม่ แต่ถ้ายังไม่ทำงานก็คงต้องตามช่างมาดูแล้วครับ แนวทางการแก้ปัญหาเบื้องต้นที่กูรูหลายท่านแนะนำ มีดังนี้ครับ
ขั้นตอนที่ 1
หาก ปั๊มน้ำสูบน้ำไม่ขึ้น แสดงว่าเครื่องไม่ทำงาน มีสาเหตุมาจาก ปลั๊กไฟหลวม , สวิทช์ไม่ได้เปิด , ฟิวส์ขาด , สายไฟขาด ให้ตรวจสอบแก้ไข โดยลองขยับปลั๊กให้แน่น ตรวจฟิวส์หรือสายไฟที่ต่อเข้าเครื่องปั๊มว่ามีจุดไหนที่ชำรุดหรือไม่ ถ้ามีให้ต่อสายให้เรียบร้อย
ขั้นตอนที่ 2
ถ้าปั๊มน้ำทำงาน แต่น้ำไม่ขึ้น อาจมีสาเหตุจากลมในถังแรงดันอ่อน (หากเกิดจากกรณีนี้เพียงเติมลมก็ใชได้แล้วครับ อันนี้สำหรับผู้ใช้คิคาว่า), หรือสาเหตุจากมีอากาศเข้าในท่อดูด , ท่ออุดตัน , ตัวอัดอากาศเสียหรือสูบน้ำจากบ่อลึกกว่า 3 เมตร ให้ตรวจสอบแก้ไขโดยเช็ครอยต่อของท่อที่รั่วและซ่อมเชื่อมให้เรียบร้อย ทำความสะอาดท่อที่มีของอุดตันและหากน้ำอยู่ต่ำกว่า 3 เมตร ให้ติดตั้งปลายท่อให้ต่ำลงไปในน้ำและอาจจะเลื่อนปั๊มให้ต่ำลงไปอีก
ขั้นตอนที่ 3
ความ เร็วรอบมอเตอร์ลดลง สาเหตุเกิดจากไฟที่จ่ายมีกำลังน้อยลง แรงดันไฟไม่สม่ำเสมอหรือที่คอนเดนเซอร์รั่วหรือละลาย การแก้ไข จะทำได้แค่การเปลี่ยนคอนเดนเซอร์
ขั้นตอนที่4
ลองดูที่ เพรสเชอร์สวิทซ์เคาะเบาๆ หรือ เปิดฝาออกมาดูภายใน จะมีคอนแท็กไว้ตัดต่อไฟเวลาปิดน้ำหรือมีแรงดันน้ำสูง มันจะทำหน้าที่ตัดต่อมอเตอร์ ถ้าเกิดหน้าคอนแท็กสกปรก กระแแสไฟฟ้าไม่สามารถเดินได้ ปั้มก็ไม่ทำงานเหมือนกันครับ สามารถทำความสะอาดคอนแท็กนี้ได้ หรือเปลี่ยนใหม่ก็ได้
วิธีตรวจสอบ จะมีสายไฟเข้า สองเส้น ตัดออกมาต่อกันเลย ถอดปลั๊กออกก่อนนะครับ เมื่อต่อกันแล้วก็เสียบปลั๊ก ถ้าปั้มทำงาน ก็เป็นที่ตัวนี้ครับ
ข้อแนะนำ
ควร ติดบอลวาล์วที่ทางน้ำออกของตัวปั๊ม เพราะเวลาเกิดปัญหาเราสามารถตรวจเช็คเบื้องต้นได้ว่าเกิดจากตัวปั๊มน้ำ หรือ เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ท่อประปารั่ว ฯลฯ เป็นต้น
Q : แนะนำการใช้งานและการดูแลรักษาปั๊มจุ่ม
(หรือบางคนเรียก ปั๊มแช่ ปั๊มไดโว่ครับ)
1.ก่อนนำไป ใช้งาน-การยกหรือเคลื่อนย้ายปั๊มทุกครั้งให้จับหรือถือด้วยหูหิ้วเท่านั้น อย่าเหนี่ยวรั้งสายไฟฟ้าของปั้ม-ตรวจสอบข้อมูลในแผ่นป้ายที่ติดมากับตัว สินค้าว่า ขนาด,รุ่น และคุณสมบัติของปั้มตรงกับที่ท่านต้องการ-ตรวจให้แน่ใจว่าการขนส่งไม่ได้ สร้างความเสียหายต่อตัวปั้ม,ตรวจดูสลักเกลียวและน๊อตว่ายังขันแน่นอยู่หรือ ไม่-ตรวจเช็คให้แน่ใจว่าสายเคเบิ้ลไม่เสียหาย มีสายดินและวงจรไฟฟ้าทำงานได้ดี
2.ข้อควรระวัง-อย่าเสียบ ปลั๊กไฟก่อนนำปั๊มไปแช่น้ำ เพราะอาจทำความเสียหายกับมอเตอร์ได้-ให้แน่ใจได้ว่าได้ต่อสายดินกับปั๊มถูก ต้องแล้วก่อนเสียบปลั๊กไฟ เพราะอาจทำให้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรได้-ควรดูแลอย่างเข้มงวดไม่ใช้ ปั๊มในบ่อหรือสระว่ายน้ำ ขณะยังมีคนอยู่ในน้ำ
3.การติดตั้ง และการใช้งาน-ในกรณีที่ปั้มจะถูกวางอยู่ในโคลน หรือพื้นทราย แนะนำว่าให้ใช้วีแขวนปั้มให้ลอยอยู่ในน้ำด้วยเชือก หรือหาตำแหน่งวางลงบนพื้นที่เรียบและแข็งแรง เพื่อป้องกันการทรุดตัว ซึ่งจะช่วยยืดอายุการสึกหรอของชิ้นส่วน จากการถูกเม็ดทรายหรือเศษมีดคมเล็กๆ ที่ถูกดูดเข้าสู่ปั้มทำความเสียหายกับตัวปั้มได้ท่อส่งน้ำหรือท่อสายยางของ ปั้ม จะต้องต่อให้พ้นจากระดับน้ำของบ่อ หรืออาจใส่วาล์วกันน้ำย้อน(CHECK VALUE) ถ้าท่อส่งน้ำหรือท่อสายยางอยู่ต่ำกว่าระดับผิวน้ำเมื่อปั้มหยุดทำงานจะเกิด น้ำย้อนเนื่องจากปฏิกิริยา "กาลักน้ำ"-จัดเตรียมหาตัวป้องกันขยะมูลฝอยที่ปนมากับน้ำและเก็บออกจากตัว กรองน้ำ เมื่อมีปริมาณมาก-หลังจากใช้ปั้มน้ำที่มีเศษทราย หรือตะกอนสกปรกอื่นๆจำนวนมาก แนะนำให้ใช้ปั้มสูบน้ำที่สะอาดๆบ้างในบางครั้ง เพื่อทำความสะอาดตัวปั้ม และภายในของท่อสายยาง-ส่วนที่กันน้ำของเพลาปั้ม ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมาก คือซีลกันน้ำ (MECHANICAL SEAL) และซีลกันน้ำมัน (OIL SEAL) อายุการทำงานของปั้มจะแปรเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของการใช้งาน โดยไม่จำกัดของเขต แนะนำให้ตรวจเช็คการซีล หรือการรั่วไหลของน้ำมัน และดูแลตรวจเช็คน้ำมันในปั้มอย่างสม่ำเสมอ
4.การบำรุงรักษา และการตรวจสอบ-ตรวจเช็คความบกพร่องของสายไฟปั้ม โดยตรวจเช็คความต้านทานของตัวนำไฟฟ้าระหว่างขั้วทั้งสองของปลั๊กเสียบสายไฟ (ค่าความด้านทานไฟฟ้าที่อ่านได้ต้องเป็น 0 Ω จึงจะถือว่าผ่าน)-ตรวจเช็คการเป็นฉนวน โดยตรวจเช็คระหว่างขั้วทั้งสองของปลั๊กเสียบสายไฟกับสายดิน (ค่าความต้านทานไฟฟ้าที่อ่านได้ต้องน้อยกว่า 5 M Ω จึงจะถือว่าผ่าน)-ตรวจดูน้ำมันหล่อลื่น ถ้าพบว่าน้ำมันหล่อลื่นมีสีขุ่นหรือมีสีผิดปกติ หรือมีน้ำเจอปนก็ให้เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น และตัวซีลทันที ถ้าพบว่าน้ำมันหล่อลื่นไม่ขุ่น และไม่มีน้ำเจือปน แสดงว่าซีลยังอยู่ในสภาพปกติใช้งานได้ต่อไป
สำหรับปั๊มจุ่ม HCP สายไฟของทุกรุ่นจะหุ้มด้วย Epoxy (ปัองกันสายไฟรั่ว) ซึ่งช่วยให้ท่านมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยยิ่งขึ้น ^^
Q : เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (ไดปั่นไฟ) คืออะไร
"เครื่องกำเนิดไฟฟ้า", "เครื่องปั่นไฟ" หรือ "ไดปั่นไฟ" นั้น ในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากต่อภาคการเกษตร และภาคส่วน งานการก่อสร้างต่างๆ สำหรับผู้ ที่ประสบปัญหา "ไฟฟ้าดับบ่อยครั้ง" ก็สามารถนำไดปั่นไฟไปใช้เป็นแหล่งให้พลังงานไฟฟ้าสำรองได้อีกด้วย
เครื่อง กำเนิดไฟฟ้า (Generator) คือ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงพลังงานกลมาเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการทำงาน ว่าเมื่อสนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ตัดขดลวด หรือขดลวดเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็กก็จะได้ไฟฟ้าออกมา ซึ่ง เครื่องกำเนิดไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือ
-ชนิดกระแสตรงเรียกว่า ไดนาโม (Dynamo)
-ชนิดกระแสสลับเรียกว่า อัลเตอร์เนเตอร์ (Alternator)
สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมนั้น โดยมากจะเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งมีทั้งแบบ 1 เฟส และแบบ 3 เฟส โดยทั่วไปตามโรงพยาบาล โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสูง จะใช้แบบ 3เฟส เนื่องจากสามารถผลิตและจ่ายกำลังไฟฟ้าได้เป็นสามเท่าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบบ 1 เฟส
แบ่งขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ ไดปั่นไฟ ออกเป็น
• ขนาด เล็ก / กลาง – ใช้ในแหล่งเพาะปลูก ใช้ในระดับครัวเรือน เป็นแหล่งพลังงานสำรอง ใช้ในไซต์ก่อสร้าง ใช้ในงานเชื่อมโลหะ ฯลฯ เป็นต้น (ขนาดเล็ก ประมาณ 1-20 KVA, ขนาดกลาง ประมาณ 20-50 KVA)
• ขนาดใหญ่ – ใช้ในระดับอุตสาหกรรม โรงแรม โรงงาน ฯลฯ (ประมาณ 50-100KVA ขึ้นไป)
• นอกจากนี้แล้ว ในปัจจุบันยังมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดพิเศษ ที่สามารถเชื่อมโลหะ ทั้งยังผลิตกระเเสไฟได้อีกด้วย (ภาษาช่างนิยมเรียก "ไดอ๊อกซ์")
เมื่อมองจากด้านนอก เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่วางขายกันในท้องตลาด จะประกอบด้วยส่วนหลักๆ 2 ส่วน คือ
1) ส่วนของตัวต้นกำลัง – เอาไว้ฉุดให้ไดปั่นไฟหมุนทำงาน ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เรานิยมใช้ "เครื่องยนต์" ทั้งหมด 3 แบบ คือ
1.1) เครื่องยนต์เบนซิน
1.2) เครื่องยนต์ดีเซล
1.3) เครื่องยนต์ที่ใช้แก้ส
2) ส่วนของไดปั่นไฟ – จะถูกเครื่องยนต์ฉุดให้หมุนด้วยความเร็วรอบเพียงพอที่จะทำให้สามารถผลิตกระเเสไฟฟ้าได้ตามขนาดที่ต้องการ
** โดยปกติแล้ว ขนาดของไดปั่นไฟในท้องตลาดนิยมกำหนดเป็นหน่วย "เควีเอ" (KVA) **
Q : รับมือน้ำท่วมให้อยู่หมัดได้อย่างไร
ป้องกันน้ำท่วมให้อยู่หมัด!!!
น้ำทะลัก! คันกั้นน้ำแตก! ตลิ่งพัง! น้ำจ่อท่วม ...เวลานี้คงจะต้องติดตามข่าวสารอุทกภัยกันนาทีต่อนาที เพราะสถานการณ์น้ำดูจะเลวร้ายขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับใคร ที่บ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม มวลน้ำยังมา ไม่ถึง แต่ส่อเค้าหรือเริ่มมีน้ำส่งสัญญาณมาบ้างแล้วนั้น คงจะนิ่งนอนใจไม่ได้อีกต่อไป เพราะถ้าช้า...ไม่แน่ว่า บ้านของเราอาจจมน้ำภายในพริบตา!!!
สิ่งที่ต้องทำในเวลานี้สำหรับผู้คนในพื้นที่เสี่ยงภัย นอกจากการเตรียมอาหาร และเก็บข้าวของเตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อแล้ว หากยังพอมีเวลาเราสามารถป้องกันน้ำท่วมบ้านได้ ซึ่งวันนี้เรามีวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล จากคุณ ทองกาญจนา ผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์น้ำท่วมบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ และอีกแนวคิดดี ๆ ในการป้องกันน้ำท่วมบ้านโดยไม่ใช้กระสอบทรายจาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ มาบอกต่อ ... นอกจากนี้ยังมีวิธีดี ๆ และได้ผลของคุณสะใภ้อินเตอร์ ที่ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมมาตลอด 4 ปี แต่ปีนี้มีวิธีป้องกัน และน้ำไม่ท่วมเข้าบ้านมาฝากกันจ้า
วิธีป้องกันน้ำท่วมให้อยู่หมัด หลังน้ำท่วมมา 4 ปี [ โดย คุณสะใภ้อินเตอร์ ]
คุณสะใภ้อินเตอร์ผู้ที่ผ่านประสบการณ์น้ำท่วมมาถึง 4 ครั้ง น้ำได้ไหลทะลักเข้าไปในตัวบ้านจนข้างของเสียหายมาหลายครั้ง วิธีป้องกันน้ำท่วมหลายต่อหลายวิธี คุณสะใภ้อินเตอร์ก็ได้ลองทำมาหมด ไม่ว่าจะเป็นตั้งกระสอบทราย หรือดินน้ำมัน แต่วิธีเหล่านั้นก็ไม่สามารถป้องกันน้ำไม่ให้ไหลทะลักเข้ามาได้ ... มาวันนี้ จากประสบการณ์ 4 ปีที่เคยผ่านน้ำท่วมมา คุณสะใภ้อินเตอร์ จึงมีวิธีป้องกันน้ำท่วมอย่างอยู่หมัดมาฝากกันครับ
เตรียมการก่อน:
ประสบการณ์ จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ
(1) บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้นมา
(2) กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด
จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้
(1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน
(2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ
(3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่า ไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว
(4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน
น้ำมาแล้ว:
เสียง ประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้วในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้า มาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ
เวลา ประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสีย หายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว
จากภาพ:
1. หาวิธียึดให้ติดกำแพงเพื่อป้องกันแรงกระแทกของน้ำจากรถที่วิ่งผ่านโดยจะใช้วิธีทำเป็นเหล็กยันไว้
2. ภายในบ้านในน้ำแผ่นพลาสติกอันซิลิโคนตามร่อง
3. ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน
หวัง ว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร ที่น้ำเคยท่วมแล้ว จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านแสนรักในครั้ง ต่อไปได้บ้างตามสมควรครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก kapook.com , คุณทองกาญจนา , คุณสะใภ้อินเตอร์
Q : 2.การใช้ปั๊มน้ำอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยประหยัดพลังงาน
Energy saving: เราช่วยโลกประหยัดพลังงานได้ เพียงใช้ปั๊มน้ำอย่างถูกวิธี นอกจากนี้ยังช่วยเราประหยัดค่าไฟฟ้าอีกด้วย ว้าวๆ
1.เลิกเปิดปั๊มน้ำทิ้งไว้เมื่อไม่อยู่บ้าน หรือไม่ใช้งานนานๆ
2.ปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้ง น้ำหยดเพียงเล็กน้อยติดต่อกันนานๆ ก็ทำให้ปั๊มน้ำเดินเครื่องได้
3.อย่าเปิดก๊อกน้ำไปที่ระดับแรงสุด เพราะปั๊มน้ำจะทำงานหนัก และสิ้นเปลืองน้ำ
4.เลิก ซักผ้าหรือล้างถ้วยชาม หรือล้างผลไม้โดยตรงจากก๊อกน้ำทีละชิ้น สิ้นเปลืองทั้งน้ำและไฟฟ้า5.เลิกใช้ปั๊มน้ำเพื่อใช้ในการฉีดน้ำรดต้นไม้ หรือสนามหญ้า ควรใช้น้ำจากการซักล้าง หรือหลีกเลี่ยงโดยต่อน้ำจากก๊อกน้ำปกติที่ไม่ต้องใช้ปั๊มน้ำ
ดูแลรักษาอย่างถูกวิธี:
คอยดูแลรักษาท่อน้ำ หัวฝักบัว และอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ให้รั่วซึม เพราะปั๊มน้ำจะทำงานหนักมากขึ้น เปลืองไฟมากขึ้นตามไปด้วย
ปรับปรุง...เปลี่ยนแปลง:
1.เลือกปั๊มน้ำที่มีถังความดันประกอบสำเร็จเป็นชุด เพราะจะมีผลต่อการรักษาความดันของน้ำในการใช้งาน และช่วยประหยัดพลังงาน
2.เลือกปั๊มน้ำที่ใช้มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง
3.ติด ตั้งระบบน้ำของปั๊มให้สามารถเก็บและจ่ายน้ำตามแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อลดการใช้พลังงานในการสูบน้ำภายในบ้าน เช่น ควาตั้งถังเก็บน้ำไว้ที่ชั้นบนสุดของบ้าน 4.หากใช้ถังน้ำใต้ดิน ควรให้ระดับน้ำในการดูดไม่เกิน 3 เมตร
credit: ข้อมูลบางส่วนจาก energy saving technology blog
Q : 3.การตรวจสอบการทำงานของปั๊มน้ำบ้านหลังจากติดตั้งครั้งแรก
หลังจากรู้จักการเลือกใช้ปั๊มน้ำ และการติดตั้งปั๊มน้ำที่ถูกต้อง สิ่งที่ควรทราบอีกเรื่องคือการทดสอบการใช้งานของปั๊มน้ำบ้านหลังจากติดตั้งเสร็จครั้งแรก
การใช้งานปั๊มน้ำ: เมื่อติดตั้งปั๊มน้ำและระบบท่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนใช้ปั๊มน้ำควรปฏิบัติดังนี้
1. ปิดวาล์วของท่อด้านส่งน้ำ ปิดอุปกรณ์ใช้น้ำและปิดก๊อกน้ำให้สนิท
2. ถอดจุกเติมน้ำของตัวปั๊มน้ำ
3. เติมน้ำให้เต็มจนมีน้ำล้น
4. ปิดจุกให้แน่น
5. ต่อระบบไฟฟ้า ให้ปั๊มทำงาน
6. เมื่อปั๊มน้ำทำงานแล้ว ให้เปิดวาล์วของท่อด้านส่งน้ำ หรืออุปกรณ์ใช้น้ำทีละน้อย แต่ถ้าปั๊มน้ำทำงานแล้วมีน้ำออกน้อยหรือน้ำไม่ไหล อาจเป็นเพราะว่าครั้งแรกเติมน้ำน้อยเกินไป ให้เติมน้ำใหม่อีกครั้ง
หากเทสแล้วใช้งานได้ปกติดี ก็อาบน้ำให้ชุ่มฉ่ำได้เลยคร้าบ^^
Q : 4.การติดตั้งปั๊มน้ำและการต่อสายไฟ
การติดตั้งปั๊มน้ำ:
เมื่อเลือกขนาดปั๊มน้ำที่ต้อง การได้แล้ว ก็ต้องพิจารณาที่จะติดตั้งให้เหมาะสม เพื่อความสะดวก ปลอดภัย และทนทาน - ควรติดตั้งปั๊มในที่ร่ม กันแดด กันฝน อาจทำหลังคา หรือกล่องใหญ่ๆคลุม แบบบ้านหมาก็ได้ ต้องให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และยกออกได้ ตรวจซ่อมปั๊มได้ง่าย แม้ว่าปั๊มส่วนใหญ่จะออกแบบมาให้ติดตั้งภายนอกได้ แต่ปั๊มที่อยู่ในที่ร่มจะทนกว่ามาก และปลอดภัยกว่ามากด้วย โดยเฉพาะปั๊มที่มีกล่องควบคุมแบบอิเลคทรอนิคติดที่ตัวปั๊ม
- ควรติดตั้งปั๊มบนฐานรอง ให้ปั๊มสูงจากพื้นเล็กน้อย น้ำไม่ท่วมขัง ปั๊มจะทนมากขึ้น ไม่เป็นสนิม และปลอดภัย ลดโอกาสไฟฟ้ารั่ว
- ติดตั้งปั๊มห่างจากผนังอย่างน้อย 10 เซนติเมตร ประมาณ 1 ฝ่ามือ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ปั๊มจะได้ไม่ร้อนมากขณะทำงาน ช่วยให้ปั๊มทนขึ้นอีกแล้ว
- ทั่วไปปั๊มจะมีใบพัดระบายความร้อนอยู่ด้านท้ายของปั๊ม ทำหน้าที่หมุนดูดอากาศผ่านด้านข้างตัวปั๊มเพื่อระบายความร้อน ควรติดตั้งในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรคอยตรวจดูอย่าให้มีใบไม้ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก ติด ขวางทางระบายความร้อนของปั๊ม
- การติดตั้งท่อน้ำกับตัวปั๊ม ควรติดตั้งให้ได้ระดับ และได้แนวพอดีกับแนวเกลียวหรือข้อต่อของปั๊ม อย่าให้งัด งอ หรือไม่ได้แนว ซึ่งอาจทำให้ ท่อแตกร้าว หรือตัวปั๊มแตกร้าว หรือเกิดรอยรั่วได้ง่าย เนื่องจากขณะที่ปั๊มน้ำทำงานจะมีการสั่นเล็กน้อย ถ้าติดตั้งท่อไม่ดี อาจทำให้ส่วนที่งัดเสียหายได้ง่าย - การติดตั้งท่อควรระวังอย่าให้มีสิ่งสกปรก เศษวัสดุ เศษท่อพี.วี.ซี.(ท่อพี.วี.ซี.ควรตัดด้วยกรรไกรตัดท่อพี.วี.ซี. ซึ่งให้รอยตัดที่เรียบ ไม่มีเศษพลาสติก) เศษเกลียวท่อ เทปพันเกลียว เข้าไปในท่อ ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดขัดใบพัดปั๊ม ติดขัดที่ลูกลอยหรือวาวล์ว ต่างๆในระบบน้ำ - ท่อดูดและท่อจ่ายน้ำของปั๊ม ไม่ควรเล็กกว่าขนาดของจุดต่อท่อของปั๊ม การใช้ท่อเล็กจะทำให้ประสิทธิภาพของปั๊มไม่ดี ไม่สามารถทำงานได้ดีเท่าที่ระบุในสเปค
- ไม่ควรต่อปั๊มดูดน้ำโดยตรงจากท่อประปา เนื่องจากจะทำให้ดูดสิ่งสกปรกในท่อประปาเข้ามาโดยตรว ถ้าท่อประปารั่วก็จะดูดน้ำสกปรกหรืออากาศเข้ามา และผิดระเบียบการใช้น้ำของการประปา ควรต่อท่อประปาเข้าถังเก็บน้ำแล้วใช้ปั๊มดูดน้ำจากถังเก็บจ่ายเข้าบ้าน
การต่อสายไฟฟ้าเข้ากับปั๊ม:
-- ควรเลือกขนาดสายที่สามารถรับกระแสไฟฟ้าที่ปั๊มใช้ได้เพียงพอ ถ้าใช้สายเล็กจะทำให้สายร้อนและละลายได้ -- ควรติดตั้งสายไฟที่จุดต่อสายไฟในตัวปั๊ม ไม่ควรใช้การเสียบปลั๊ก หรือตัดปลายปลั๊กแล้วต่อสาย สายไฟไม่ควรมีจุดตัดต่อที่กลางสาย -- ควรมีชุดเบรกเกอร์ควบคุมปั๊มต่างหาก 1 ชุด เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการซ่อม -- ถ้าต้องเดินสายไฟฟ้านอกอาคารไปยังปั๊ม ควรเดินสายไฟโดยการร้อยในท่อพี.วี.ซี. สีเหลือง ซึ่งใช้สำหรับเดินสายไฟนอกอาคาร - ควรทำงานติดตั้งด้วยความละเอียด เรียบร้อย โดยใช้ช่างที่มีความรู้โดยตรง หรือศึกษาข้อมูลก่อนทำงานติดตั้ง การติดตั้งต่อท่อน้ำ ต่อไฟให้ปั๊มน้ำทำงานนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่การติดตั้งให้ดี ปลอดภัย เรียบร้อย ต้องใช้ความรู้และความชำนาญพอสมควร - การติดตั้ง - ซ่อม ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบไฟฟฟ้า ควรทำโดยช่างที่มีความรู้ ความชำนาญโดยตรง และตัดไฟฟ้าก่อนทำการซ่อม-ติดตั้ง
From: www.facebook.com/Kikawa Thailand, tanksunrise
Q : รู้จักหน่วยวัด และชนิดของเครื่องปั่นไฟ/กำเนิดไฟฟ้า
เครื่องปั่นไฟแบ่งได้2-3ชนิดหลักๆคือ:
1.เครื่องปั่นไฟเบนซิน(Gasoline) ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องปั่นไฟขนาดเล็ก ราคาถูกกว่าแบบดีเซล กระทัดรัด เสียงเบา แต่อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อสูงกว่า
2.เครื่องปั่นไฟดีเซล(Diesel) มักจะเป็นเครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ ราคาสูงกว่าแบบเบนซิน จุดเด่นคือบำรุงรักษาง่าย ทนทานกว่า ประหยัดเชื้อเพลิง แต่ก็มีข้อจำกัดคือเสียงดัง มีขนาดใหญ่
3.เครื่องปั่นไฟชนิดใช้แก็ส (LPG/ Biogas) มักจะใช้ควบคู่กับเครื่องยนต์ ข้อดีคือ ประหยัดเชื้อเพลิง เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นแต่ยังไม่แพร่หลายหนัก เนื่องจากผู้ใช้บางท่านยังกัลวลเรื่องความปลอดภัย
หน่วยวัดที่เกียวข้องกับเครื่องปั่นไฟ:
แรงดันไฟฟ้า = Voltage (V) คือ ความสามารถในการผลักดันให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า โดยปกติแรงดันไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปจะอยู่ที่ 220V (1เฟส)
กระแสไฟฟ้า = Ampere(A) คือ อิเล็กตรอนในตัวนำไฟฟ้ามีหน่วยเป็น แอมแปร์
วัตต์ = Watt (W) คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เปลี่ยนจากกำลังไฟฟ้าเป็นพลังงานอย่างอื่น
เควีเอ = Kilovolt x ampere (KVA) คือ หน่วยของกำลังไฟฟ้าที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าจ่ายให้โหลด เป็นผลคูณของกิโลโวลท์
ความถี่ = Hertz (Hz) คือ การสลับขั้วกระแสไฟฟ้าใน 1 วินาที โดยส่วนมากจะอยู่ที่ 50 รอบ
สูตรการหาค่า:
1 KVA ประมาณ = 800 watt
(นั่นก็คือ kVA x 0.8= Kw หรือ kW / 0.8 = kva)
800 watt / 220 volt ประมาณ = 3.6 ampere
Q : ฟื้นฟู และ ซ่อมแซม บ้านหลังน้ำท่วม!
สำหรับผู้ที่สนใจ และ ผู้ที่บ้านโดนน้ำท่วม หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ
1. ตรวจสอบระบบไฟฟ้าหลังน้ำท่วม:
ขณะน้ำท่วมทุกบ้านคงจะปิดวงจรไฟฟ้าหรือคัทเอ้าท์ทั่วทั้งบ้านทำ ให้ไม่มีกระแสไฟฟ้า เดินในระบบ ซึ่งลดอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัย และแก้ปัญหาจากไฟฟ้าลัดวงจรได้อย่างแน่นอน แต่เมื่อน้ำลดลงควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าในบ้านของท่านดังนี้ครับ
• เปิด คัทเอ้าท์ให้มีกระแสไฟฟ้าเข้ามา ถ้าปลั๊กหรือจุดใดจุดหนึ่งในระบบยังเปียกชื้นอยู่ คัทเอ้าท์จะตัดไฟและฟิวส์จะขาดให้ เปลี่ยนฟิวส์แล้วทิ้งไว้ 1 วันให้ความชื้นระเหยออกไปแล้วลองทำใหม่ หากยังเป็นเหมือนเดิมคงต้องตามช่างไฟมาแก้ไขดีกว่าเสี่ยงชีวิตครับ
• เมื่อ ทดสอบผ่านขั้นตอนแรกไปแล้ว ลองทดสอบเปิดไฟฟ้าทีละจุดและทดสอบกระแสไฟฟ้าในปลั๊กว่ามาปกติหรือไม่ด้วย ไขควงทดสอบไฟ หากทุกจุดทำงานได้ก็สบายใจได้ หากมีปัญหาอยู่ต้องรอให้ความชื้นระเหยออกก่อน ถ้ายังมีปัญหาก็คงต้องตามช่างมาแก้ไขหรือเปลี่ยนปลั๊ก/ สวิช์เหล่านั้นครับ
• ลองดับไฟทุกจุดในบ้าน ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทั้งหมด แต่ยังเปิดคัทเอ้าท์ไว้แล้งววิ่งไปดูมิเตอร์ไฟฟ้าหน้าบ้านว่า หมุนหรือไม่ หากไม่เคลื่อนไหวแสดงว่าไฟฟ้าในบ้านเราไม่น่าจะรั่ว แต่ถ้ามิเตอร์หมุนแสดงว่าไฟฟ้าในบ้านท่านอาจจะรั่วได้ ให้รีบตามช่างไฟมาดูแลโดยเร็วครับ
• หาก พอมีงบประมาณสำหรับปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้าในบ้านของท่าน แนะนำให้ตัดปลั๊กไฟในระดับต่ำๆ ในบ้านชั้นล่างออกให้หมด (ถ้าคิดว่าน้ำท่วมอีกแน่ๆ ) แล้วปรับตำแหน่งปลั๊กไฟไป อยู่ที่ระดับประมาณ 1.10 เมตร หลังจากนั้นควรแยกวงจรไฟฟ้าออกเป็น 2-3 วงจร คือ 1. วงจรไฟฟ้าสำหรับบ้านชั้นล่าง (ที่น้ำอาจท่วมถึง) 2. วงจรไฟฟ้าสำหรับบ้านชั้นบนขึ้นไป (ที่น้ำท่วมไม่ถึง) 3. วงจรสำหรับเครื่องปรับอากาศ การกระทำดังกล่าวจะทำให้ท่านควบคุมการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าในบ้านได้อย่างอิสระ และง่ายต่อการซ่อมแซมบำรุงรักษาครับ
2. ตรวจสอบระบบประปาหลังน้ำท่วม:
เป็นอีกระบบที่มีความสำคัญเพราะเกี่ยวกับสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัย มีแนวทางตรวจสอบระบบประปาในบ้านหลังน้ำท่วมดังนี้ครับ
• ถ้ามีบ่อเก็บน้ำใต้ดิน หรือถังเก็บน้ำใน ระดับน้ำท่วมถึง พึงระลึกเสมอว่าน้ำที่ท่วมเป็นน้ำสกปรกเสมอ ดังนั้นควรล้างทำความสะอาดถังน้ำ และบ่อน้ำให้สะอาดเพื่อความปลอดภัยของท่านและสมาชิกในบ้าน โดยไม่เสียดายน้ำ แล้วจึงปล่อยน้ำประปาใหม่ลงเก็บไว้ใช้งานอีกครั้งหนึ่งครับ
• บ้านที่มีระบบปั๊มน้ำควร ตรวจสอบอุปกรณ์ปั๊มน้ำ และถังอัดความดันว่าใช้งานได้เหมือนเดิมหรือไม่ โดยพิจารณาเสียงเครื่องทำงาน ดูแรงดันน้ำในท่อว่าแรงเหมือนเดิม (ก่อนน้ำท่วม) หรือไม่ หลังจากนั้นตรวจสอบดูว่าถังอัดความดันทำความดันได้ดีเหมือนเดิมหรือไม่
• หากมีความผิดปกติควรตรวจสอบด้วยการแกะ แงะ ไข ว่ามีเศษผง สิ่งสกปรกเข้าไปอุดตัน กีดขวางการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้หรือไม่หาก ปั๊มน้ำที่บ้านท่านถูกน้ำท่วม ให้เดาไว้ก่อนว่าน่าจะเสียหายและหากใช้งานต่อไปเลยอาจเกิดอันตรายจากความ ชื้นในมอเตอร์ได้ ควรเรียกหาช่างมาทำให้แห้งเสียก่อนตามกรรมวิธีทางเทคนิค (ที่ไม่ใช่นำไปตากแดดแบบเนื้อเค็ม) เพื่อลดความเสี่ยงจากเพลิงไหม้ในตัวมอเตอร์ได้ครับ
3. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังน้ำท่วม:
อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ได้แก่เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า มอเตอร์ และอาจรวมไปถึงรถยนต์ก็ ได้ เป็นเครื่องจักรกลที่เราท่านไม่น่าประมาท หรือหาทางแก้ไขซ่อมแซมเอง ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าเพิ่งใช้เด็ดขาด เพราะอุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้เมื่อโดนน้ำท่วม ก็แสดงว่าน้ำไหลเข้าไปในเครื่องเรียบร้อยแล้ว เราไม่มีทางรู้เลยว่าเจ้าอุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้จะป่วยไข้ เสียหายแค่ไหน การนำไปตากแดดแล้วมาใช้งานต่อเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อชีวิตท่าน และอัคคีภัยในบ้านท่านมากจากการลัดวงจรของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องกลของ เครื่องเหล่านั้น แต่ถ้าหากจะยังใช้งานจริงๆ ก็มีข้อแนะนำดังนี้ครับคือ
• ตลอดเวลาที่ใช้ต้องมีคนอยู่ด้วยเสมอ เผื่อเวลาฉุกเฉินจะได้ปิดเครื่อง ดึงปลั๊กได้ทันที
• ที่ Cut out ไฟฟ้าหลักของบ้านท่าน ต้องมีฟิวส์คุณภาพติดตั้งเสมอ หากเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเมื่อใด ต้องแน่ใจว่าวงจรไฟฟ้าจะถูกตัดออกทันที
• เมื่อไม่จำเป็นต้องใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องรีบนำไปแก้ไขซ่อมแซมโดยช่างผู้รู้ทันทีครับ
4. ซ่อมพื้นไม้ปาเก้หลังน้ำท่วม:
ถ้า พื้นบ้านของท่านเป็นไม้ปาเก้ แล้วถูกน้ำท่วมก็ต้องเข้าใจไว้นิดหน่อยนะครับว่า ปาเก้หรือ ไม้แผ่นชนิดนี้อยู่ได้ด้วยกาวติดกับพื้นคสล. จึงแพ้น้ำ(ท่วม)อย่างแรง เพราะไม้จะบวมน้ำและหลุดล่อนออกมาในที่สุดเป็นเรื่องธรรมดา บางทีหากน้ำท่วมเป็นเวลานานๆ ก็อาจเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์แถมมาให้อีกด้วยครับ มีวิธีตรวจสอบแก้ไขดังนี้ครับ
• หากปาเก้เปียกน้ำเล็กน้อยไม่ถึงกับหลุดล่อนออกมา แค่เช็ดทำความสะอาดแล้วเปิดประตู หน้าต่างปล่อยให้แห้งโดย ให้อากาศถ่ายเทความชื้นออกไป ปาเก้จะเป็ฯปกติได้ไม่ยาก แต่ระวังว่าเมื่อปาเก้ยังชื้นอยู่ไม่ควรเอาสารทาทับหน้าไปทาทับ เนื่องจากจะไปเคลือบผิวไม่ให้ความชื้นในเนื้อไม้ระเหยออกมา
• หากปาเก้มีอาการบิดงอ ปูดโปน เบี้ยวบูด กรุณาเลาะออกมาทันทีครับ และหากยังอยู่ในสภาพดีก็ผึ่งลมให้แห้งอาจนำมาใช้ประโยชน์ได้
• หากท่านจะซ่อมแซมพื้นใหม่ ด้วย การเอาวัสดุปูพื้นชนิดใหม่ที่คงทนถาวรทนน้ำได้มากกว่า เช่น กระเบื้อง หรือหินอ่อน แกรนิต เหล่านี้ ต้องระวังอย่างยิ่งเรื่องน้ำหนักวัสดุที่จะปูทับหน้าว่าโครงสร้างเดิมจะรับ น้ำหนักได้หรือไม่ ไม่ควรทำไปดื้อๆ เลยเพราะบ้านท่านอาจเสียหายได้ครับ
• หากรื้อหรือซ่อมแซมแล้ว ต้อง การปูปาเก้แบบเดิม หรือใช้วัสดุอื่นที่ใช้กาวเป้นตัวประสานเช่นกัน เช่น กระเบื้องยาง อย่าปูทับทันทีครับ ต้องรอให้พื้นคอนกรีตแห้งเสียก่อนแล้วจึงปูลงไปได้ ไม่เช่นนั้น ถึงน้ำไม่ท่วมรับรองว่าล่อนออกมาอีกแน่นอนครับ
5. ซ่อมผนังบ้านหลังน้ำท่วม:
ผนังบ้านเรือนหากแช่น้ำไว้นานๆ ก็อาจมีการเสียหายไปบ้าง โดยเฉพาะพวกผนังสำเร็จรูปที่มีน้ำหนักเบาทั้งหลาย ลองมาดูวิธีแก้ไขกันครับ
• ผนังไม้ ปกติ ไม้จะไม่เสียหายเมื่ออยู่ใต้ระดับน้ำ แต่มักผุกร่อนในจุดที่มีน้ำขึ้น น้ำลง ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อน้ำลดให้เอาผ้าเช็ดทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรกออกเพื่อสุขภาพคนในบ้าน เพื่อให้ผิวไม้ระเหยความชื้นออกไปได้ เมื่อแน่ใจว่าผนังแห้งดี แล้วให้ใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้ทาชะโลมลงที่ผิว (ต้องแน่ใจว่าแห้งแล้วจริงๆ มิฉะนั้นอาจเกิดการเน่าได้เนื่องจากความชื้นระเหยไม่ออก) การทาสีหรือยารักษาเนื้อไม้อาจทำภายในก่อนก็ได้เพื่อความสวยงามในการอยู่ อาศัย แล้วรออีกสักพัก (3-4 เดือน) จึงทาภายนอกอีกทีเพราะผนังภายนอกน่าจะแห้งสนิทดีแล้ว
• ผนังก่ออิฐฉาบปูน ให้ ดำเนินการเหมือนกับผนังไม้ แต่ต้องทิ้งระยะเวลานานกว่าเนื่องจากผนังอิฐจะมีมวลสารและการเก็บกักความ ชื้นในตัววัสดุได้มากกว่าไม้ จึงต้องใช้เวลาระเหยความชื้นออกไปนานกว่า
นอก จากนี้หากผนังปูนเหล่านี้มีสายไฟฟ้า ท่อไฟฟ้า ท่อน้ำฝังหรือเดินลอยไว้ก็ต้องใช้วิธีเดียวกับเนื้อหาตอนที่แล้ว ตรวจสอบระบบของอุปกรณ์เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพเดิมไปพร้อมกันด้วยครับ
• ผนังยิบซั่มบอร์ด เนื่องจากวัสดุชนิดนี้เป็นแผ่นผงปูนยิบซั่มที่หุ้มด้วยกระดาษอย่างดี แต่ไม่ว่าจะดีเพียงใดเมื่อเจอกับน้ำ(ท่วม) แล้วก็คงไม่น่าจะมีชีวิตต่อไปได้ ดังนั้นให้แก้ไขโดยเลาะเอาแผ่นชนิดนี้ที่โดนน้ำท่วมออกจากโครงเคร่าแล้วค่อย หาแผ่นใหม่มาติด ยาแนว ทาสีทับใหม่ก็เรียบร้อยใช้งานได้เหมือนเดิมครับ พึงระวังเล็กน้อยสำหรับโครงเคร่าผนังที่เป็นไม้ ต้องรอให้ความชื้นในโครงเคร่าระเหยออกไป หรือให้ไม้แห้งเสียก่อนจึงติดผนังเข้าไปใหม่ แต่ถ้าเป็นโครงเคร่าโลหะแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันคงไม่มีปัญหาครับ
• ผนังโลหะ/กระจก วัสดุเหล่านี้โดยตัวเนื้องวัสดุคงไม่มีความเสียหาย เพียงแค่ทำความสะอาดขัดถูก็จะสวยงามเหมือนเดิม แต่ควรระวังเรื่องรอยต่อว่ามีคราบน้ำ เศษผง สิ่งสกปรกติดฝังอยู่บ้างหรือไม่ หากมีก็ให้ทำความสะอาดเสียให้เรียบร้อย เนื่องจากคราบน้ำ ความสกปรกอาจทำให้วัสดุยาแนวเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด
6. การซ่อมวอลล์เปเปอร์หลังน้ำท่วม:
เมื่อน้ำท่วมบ้านที่มีผนังบุด้วย วอลล์เปเปอร์ มีวิธีแก้ไขและซ่อมแซม ดังนี้ วอลล์เปเปอร์จะ มีลักษณะคล้ายสี ถ้าโดนความชื้นมากๆ จะลอกหรือร่อน การแก้ไขก็โดยการลอกออกให้หมด เพื่อให้ผนังที่ชื้นสามารถระเหยออกมาได้ โดยรอให้ผนังแห้งจริงๆ ทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วจึงปิด วอลล์เปเปอร์ทับลงไป อาจจะปิดเองถ้าทำได้ หรือตามช่างมา ก็ได้ ถ้าส่วนไหนขึ้นราหรือเป็นคราบเช็ดไม่ออก ก็สามารถเปลี่ยนแผ่นใหม่ โดยเลือกให้มีลวดลายเหมือนเดิม ก็จะได้ผนังสวยงามเหมือนก่อนน้ำท่วม
7. การซ่อมแซมฝ้าเพดานบ้านหลังน้ำท่วม:
การซ่อมแซมฝ้าเพดาน จะมีลักษณะคล้ายๆ การซ่อมผนังและพื้นปนกัน มีวิธีการแก้ไขคือ ถ้าเป็นฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ด หรือกระดาษอัด ถ้าเปื่อยยุ่ยมากเพราะอมน้ำ ก็ควรเลาะ ออกแล้วจึงเปลี่ยนแผ่นใหม่เลย ทิ้งไว้ให้ทั้งหมดแห้งสนิทจริงๆ แล้วจึงทาสีทับ
• ถ้าเป็นฝ้าโลหะ ให้เช็ดทำความสะอาดให้แห้ง ถ้าเป็นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดออกให้เรียบร้อย แล้วจึงทาสีทับเข้าไปใหม่
• ระบบสายไฟส่วนใหญ่ จะเดินในฝ้าเวลาเปิดฝ้าเข้าไปต้องตรวจดูว่าความเรียบร้อยว่า มีส่วนใดชำรุดหรือเปล่าด้วย
• ถ้าโครงฝ้าเพดานที่เป็นไม้ เกิดการแอ่นหรือทรุดตัว ต้องแก้ไขให้ได้ระดับก่อนการติดตั้งแผ่นฝ้าใหม่
8. การซ่อมแซมประตู หลังน้ำท่วม:
ประตูต่างๆ เมื่อถูกน้ำแช่อยู่นานๆ ก็จะบวมขึ้น หรือไม่ก็จะเกิดเป็นสนิม มีวิธีแก้ไขคือ
• ประตูไม้ เมื่อโดนแช่น้ำก็จะบวมและผุพัง มีวิธีแก้ก็โดยทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วซ่อมแซมส่วนที่ผุให้เรียบร้อยแล้วจึงทาสีใหม่ แต่ถ้าผุมาก ก็ควรจะเปลี่ยนเลย
• ประตูเหล็กที่ขึ้นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมด เช็ดให้สะอาดแล้วจึงทาสีใหม่ โดยอย่าลืมทาสีกันสนิมก่อน แต่อย่าลืมดูรอยต่อต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นท่อโครงเหล็กว่า มีน้ำหลงเหลืออยู่เหลือเปล่า ต้องให้แห้งจริงๆ ก่อนจึงจะทาสีได้
• ประตูพลาสติก ส่วนใหญ่จะทนน้ำได้ แต่ให้ระวังอาการที่มีน้ำขังสกปรก ให้หาวิธีเช็ดซับน้ำออก หรือเจาะรูให้น้ำออก
ทีนี้เวลาที่ ประตูบวมน้ำ หรือมีน้ำขังข้างใน จะทำให้น้ำหนักมากและประตูเอียง จากบานพับรับน้ำหนักไม่ไหว หาลิ่มมายันไว้ก่อนให้ใกล้เคียงปกติ แล้วพยายามทำให้แห้งที่สุด จากนั้น ถ้ายังเอียงอยู่ จะไขน็อตเพิ่มหรือเปลี่ยนบานพับก็ตามสมควรครับ
9. การซ่อมแซม บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจหลังน้ำท่วม:
อุปกรณ์ต่างๆ เช่น บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจ ทำด้วยโลหะ เมื่อโดนน้ำท่วมย่อมมี ปัญหาตามมา มีวิธีแก้ไข คือ
• เช็ดให้แห้งสนิท ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกให้หมด ใช้พวกน้ำยาหล่อลื่นชโลมตามจุดรอยต่อและรูต่างๆ ให้ทั่ว
• อย่าใช้จาระบี หรือพวกขี้ผึ้งทา เพราะจะทำให้ความชื้นระเหยออกไม่ได้ จะทำให้ฝังอยู่ข้างใน และจะเป็นปัญหาในภายหลัง
• ถ้ายังใช้การไม่ได้ ก็ลองทำตามวิธีที่ว่านี้หลายๆ ครั้ง ถ้ายังมีปัญหา ก็ควรจะต้องถอดออก แล้วซื้อมาเปลี่ยนใหม่
10. ซ่อมแซมสีทาบ้านหลังน้ำท่วม:
การ ซ่อมแซมสีทาบ้านทั้งภายนอกและภายใน ควรเป็นสิ่งสุดท้ายในการแก้ไขปรับปรุงบ้าน เพราะเป็นเรื่องของเวลาที่ต้องปล่อยทิ้งให้ความชื้นหรือน้ำในตัววัสดุ ระเหยออกไปให้ได้มากที่สุดครับ มิฉะนั้นท่านทาสีทับไปดีอย่างไร ก็จะเกิดอาการหลุดล่อนในที่สุดครับ
• ข้อควรคิดสำหรับการซ่อมแซมสี คือ ปัญหาสีลอก สีล่อนไม่ได้เกิดจากคุณภาพของสีแต่เกิดจากความไม่พร้อมของพื้นผิวที่ทาสี หากพื้นผิวที่ทาสีมีความชื้นหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ทาสีทับอย่างไรสีก็จะ ล่อนออกมาอยู่ดีครับ
• ข้อพึงกระทำเวลาซ่อมสี คืออย่างเพิ่งรีบทาสี ให้ทำความสะอาดลอกสีเดิมทิ้งออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (เฉพาะที่มีปัญหานะครับ) แล้วทิ้งไว้นานๆ หลายๆ เดือนอาจรอจนถึงหน้าร้อนปีหน้าแล้วค่อยทาสีตามกรรมวิธีของผู้ผลิตก็ไม่สาย
11. การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์หลังน้ำท่วม:
การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ก็คล้ายๆ กับการซ่อมแซมพวกประตู หน้าต่าง พื้น หรือฝ้า เพดาน มีวิธีดังนี้
• พยายามเอาความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ให้มากที่สุด
• พวกประเภทที่บุด้วยนุ่นหรือฟองน้ำ ถ้าเป็นไปได้ควรเปลี่ยนเลย เพราะน้ำจะพาเอาเชื้อโรคมาติดอยู่ ถึงจะตากแดดให้แห้ง เชื้อโรคก็ยังมีอยู่
• เฟอร์นิเจอร์ที่ติดกับที่ที่เรียกว่า Built in ต้องตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง และสายไฟที่ฝังอยู่ในตู้ รวมถึงทำความสะอาดรูกุญแจและลูกบิด
• ส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม่ควรนำไปตากแดด เพราะจะทำให้บิดงอได้ และถ้าจะทาสีใหม่ ควรรอให้แห้งสนิทก่อน มิฉะนั้นจะลอกได้
12. ทำความสะอาดพรมหลังน้ำท่วม:
• ใช้สายยางฉีดน้ำแรงๆ เผื่อไล่สิ่งติดค้าง สิ่งสกปรกออกไป
• รีดน้ำที่ขังอยู่ในพรมออกไป โดยการใช้อุปกรณ์ที่กดรีดได้ หรือม้วนบีบ (อย่าบีบแรงเกิน เดี๋ยวเนื้อพรมจะรวน)
• ใช้ แชมพูสระผมเด็ก ทำความสะอาดพรมแล้วล้างออก จนกระทั่ง น้ำล้างใสสะอาด
• ผึ่งแดดให้แห้ง
13. ทำความสะอาดเตียงนอนหลังน้ำท่วม:
เตียงนอน ถ้าจมน้ำละก้อ กลายเป็นเรื่องน่าปวดหัวในการทำความสะอาดอย่างมาก แต่ถ้าคุณอยากจะนำมันกลับมาใช้ต้องพยายามกันหน่อย
• ตากแดดให้แห้ง โดยพลิกคว่ำไว้ ตีแรงๆหลายๆครั้ง (ไล่น้ำ ไล่ฝุ่นออก)
• ทำความสะอาดขจัดคราบเปื้อนต่างๆ ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแล้วผึ่งแดดอีกครั้ง
• ฉีดสเปรย์ดับกลิ่น แล้วใช้ผ้าปูรองนอน
14. ขจัดความชื้นในบ้านหลังน้ำท่วมให้ได้มากที่สุด:
ข้อสุดท้าย อย่าลืมนะครับว่า หัวใจของการซ่อมบ้าน ดูแลบ้าน ส่วนหนึ่งคือ การขจัดความชื้นออกจากบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ และส่วนประกอบต่างๆของบ้าน โดยเร็ว เพราะยิ่งชื้อนานก็จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อ และรา ได้
• เปิดหน้าต่าง ประตูระบายและถ่ายเทอากาศให้ได้มากที่สุด
• ตู้ที่เปียกก็เปิดทิ้งไว้ ให้ระบายความชื้นเช่นกัน
• ใช้พัดลม เปิดแอร์ (โหมดพัดลม)ก็ได้ จะเป็นการระบายความชื้นได้ครับ
• ใช้สารดูดความชื้น (แบบเดียวกับที่มาใน ห่อขนม ห่อสาหร่าย หรือกล่องรองเท้าน่ะครับ)
• ถ้าเร่งให้แห้งเร็ว ก็ใช้พวกไดร์เป่าผมกับส่วนที่ต้องการให้แห้งเร็ว
15. ขจัดเชื้อโรคเชื้อราหลังน้ำท่วม:
• สำหรับพื้น เก้าอี้ เครื่องไม้เครื่องมือ เตาอบ ผนังบ้าน สามารถใช้น้ำยาประเภทล้างครัวเรือน ผนังห้องน้ำ (bleach) หรือ ไฮเตอร์ ได้ เพื่อขจัดเอาเชื้อโรค เชื้อราที่ฝังตัวออกไป สามารถฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคโดยเฉพาะ เช่น Dettol หรือ แอลกอฮอล์ล้างแผล
• สำหรับเสื้อผ้าที่จมน้ำท่วม ซักผ้าแล้วลวกน้ำร้อนด้วยเลย
• สำหรับจานชามช้อนให้ล้างด้วยน้ำยาล้างจานใหม่หมด
• ที่สำคัญระหว่างทำความสะอาดสิ่งของเหล่านั้น หลีกเลี่ยงการสัมผัสสูดดม (ทั้งเชื้อโรค และสารเคมีน้ำยาที่ใช้) ด้วยการใส่ถุงมือ และหน้ากาก
Credit: http://news.mthai.com/ และ คุณยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ และ Ratchot Chompunich
Q : 5.ประเภทและการเลือกใช้ปั๊มน้ำบ้าน
ประเภทของปั๊มน้ำใช้กับบ้าน:
ปั๊มน้ำ สำหรับสูบจ่ายน้ำประปาภายในบ้าน ในอาคาร มีหลายแบบ มีหลักการทำงานต่างๆกัน แบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 แบบ
1. ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบมีถังแรงดัน ควบคุมการทำงานด้วย สวิทซ์แรงดัน (Pressure Switch) ปั๊มจะทำงานเมื่อแรงดันในถังแรงดันต่ำกว่าที่ตั้งไว้ และหยุดเมื่อแรงดันสูงถึงกำหนด
2. ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบแรงดันคงที่ ควบคุมการทำงานด้วย สวิทซ์แรงดัน (Pressure Switch) และสวิทซ์ตรวจจับการไหลของน้ำ (Flow Switch)ปั๊มจะทำงานตลอดเวลาที่เปิดน้ำ และจะหยุดเมื่อปิดน้ำ ไม่มีอาการน้ำไหลแรง-เบา ขณะเปิดน้ำ
3. ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบอินเวอร์ทเตอร์ ควบคุมการทำงานด้วย อินเวอร์ทเตอร์ (Inverter) ปั๊มทำงานตลอดเวลาที่เปิดน้ำ และปั๊มจะพยายามทำงานให้น้ำไหลแรงเท่ากัน คือเมื่อเปิดก๊อกจำนวนมากขึ้น ปั๊มจะหมุนเร็วขึ้น ให้ปั๊มจ่ายน้ำได้มากขึ้น แต่ก็หมุนเร็วขึ้นได้ค่าหนึ่งเท่านั้น
4. ปั๊มน้ำธรรมดา ควบคุมการทำงานด้วยสวิทซ์ลูกลอย ใช้สูบน้ำขึ้นถังพักน้ำ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ หรือเก็บน้ำบนอาคาร
การเลือกใช้ปั๊มน้ำ:
1. ต้องมีข้อมูลปริมาณการใช้น้ำภายในบ้าน บ้านมีกี่ชั้น ห้องน้ำชั้นสูงสุดอยู่ชั้นไหน มีคนอยู่กี่คน ห้องน้ำกี่ห้อง โอกาสที่จะใช้ก็อกน้ำ, ห้องน้ำพร้อมกัน โดยทั่วไปก็อกน้ำควรจะจ่ายน้ำที่อัตรา 12 ลิตร / นาที, อ่างล้างมือควรจ่ายน้ำที่อัตรา 6 ลิตร / นาที, ฝักบัวควรจ่ายน้ำที่อัตรา 12 ลิตร / นาที, อ่างอาบน้ำ ควรจ่ายน้ำที่อัตรา 18 ลิตร / นาที,เครื่องซักผ้า ควรจ่ายน้ำที่อัตรา 12 ลิตร / นาที, ส้วมชักโครก ควรจ่ายน้ำที่อัตรา 6 ลิตร / นาที
แรงดันทั่วไปที่อุปกรณ์ประปาต้องการจะอยู่ประมาณ 10 - 20 เมตรเพื่อให้น้ำไหลได้ในอัตราที่ต้องการ
2. เลือกปั๊มน้ำที่สามารถจ่ายน้ำได้ในปริมาณที่ต้องการ ในระดับแรงดันที่ต้องการ โดยคำนึงถึงช่วงเวลาที่ใช้น้ำพร้อมกันสูงสุด เช่นช่วงเช้าที่ห้องน้ำเต็มทุกห้อง ต้องเปิดน้ำจุดไหนบ้าง ใช้น้ำทั้งหมดกี่ลิตร/นาทีในช่วงนั้น แรงดันที่ต้องการหาจากแรงดันที่อุปกรณ์ต้องการ + ความสูงของอุปกรณ์วัดจากปั๊มน้ำ + แรงเสียดทานในท่อ (ยิ่งท่อเล็กแรงเสียดทานมาก ท่อใหญ่แรงเสียดทานน้อย)
ที่มา: ข้อมูลบางส่วนจาก ppwater, 9engineering
Q : วิธีหาท่อประปารั่วได้ด้วยตัวเอง
วิธีหาท่อประปารั่วได้ด้วยตัวเอง:
1.ปิดก๊อกน้ำทุกตัวภายในบ้าน (ยกเว้นประตูน้ำหน้ามาตรวัดน้ำ)
2.ตรวจสอบตัวเลขในมาตรวัดน้ำ โดยฟังเสียง และสังเกตดูการเคลื่อนไหวของตัวเลข หรือ ดอกจันสีแดงที่หน้าปัทม์มาตรวัดน้ำ หากพบว่า ดอกจันหรือตัวเลขในมาตรวัดน้ำมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แสดงว่า มีท่อแตก-รั่ว
3. ตรวจดูอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่าง ก๊อกน้ำ ฝักบัว เครื่องซักผ้า ทุกตัว หากพบว่า เมื่อปิด สนิทไม่มีการใช้น้ำแต่ยังมีน้ำรั่วซึมออกมา ให้รีบทำการซ่อมแซม หรือมีวิธีเช็คอีกหนึ่งวิธี คือ อาจใส่สารย้อมผ้าลงในถังพักน้ำของโถชักโครก แล้วสังเกตดู หากมีน้ำสีย้อมผ้าไหลลงโถชักโครก แสดงว่ามีปัญหาการรั่วไหลของ ตัวปิด-เปิดน้ำชักโครก หรือหากพบว่า ก๊อกน้ำ ซีลยาง ลูกลอยในชักโครก หรือ บ่อพักน้ำชำรุด เป็นเหตุให้น้ำรั่วไหลอยู่ตลอดเวลา ควรรีบทำการตรวจหาสาเหตุ และให้ช่างผู้เชี่ยวชาญซ่อมแซมแก้ไขให้เร็วที่สุด
4.สำหรับบ้านที่ใช้ปั๊มน้ำ หากพบว่า ปั๊มน้ำทำงานเป็นระยะเมื่อไม่มีการใช้น้ำ (ตัด-ต่อบ่อย) ให้สันนิฐาษไว้ก่อนว่า อาจเกิดจากปัญหาการรั่วไหลของน้ำ (ท่อรั่ว) ให้ตามช่างมาแก้ไขโดยด่วนเพราะนอกจากจะสูญเสียน้ำประปาแล้ว ยังจะเสียค่าไฟฟ้ามากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
5. นอกจากการตรวจสอบท่อประปาภายในบ้านแล้ว ยังสามารถตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำในเส้นท่อท่ีอยู่นอกบ้าน ด้วยการสังเกตที่พื้นดินบริเวณที่เดินท่อประปา ถ้าพื้นดินบริเวณนั้นทรุดตัวลงต่ำกว่าบริเวณอื่น หรือ มีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา อาจจะเกิดจากการแตกรั่ว หรือ ชำรุดของอุปกรณ์บางอย่างแน่นอนครับ
วิธีตรวจสอบหาท่อรั่วใต้ดิน:
เนื่องจากท่อประปาที่วางอยู่ใต้ผิวดินจะเป็นการยากสักหน่อยต่อการพบเห็นและ ตรวจสอบ หากมีการรั่วไหลเกิดขึ้น สามารถสังเกตได้บ้างดังนี้
1.น้ำจะไหลอ่อนลงจากปกติ
2.บริเวณพื้นที่ที่มีท่อแตก-รั่ว จะทรุดต่ำกว่าที่อื่น เนื่องจากดินหรือทรายใต้ดินเคลื่อนตัว
3.พื้นที่ดังกล่าวอาจมีน้ำเปียกแฉะตลอดเวลา มีตะไคร่ขึ้น หรือมีหญ้าขึ้นมากกว่าที่อื่น
**สุดท้ายลองตรวจสอบบิลค่าไฟ ค่าน้ำดูนะคร้าบ ว่าสูงผิดปกติหรือเปล่า**
Q : เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ระบบATS คืออะไร
ATS (Automatic Transfer Switch) ก็คือ ระบบสตาร์ทอัติโนมัติ มีหน้าที่สั่งให้เครื่องปั่นไฟ/ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานอัตโนมัติในกรณีที่ไฟตก หรือไฟดับ
การทำงานของ ATS: ATS จะส่งสัญญาณ ไปยังเครื่องปั่นไฟ (generator) ให้สตาร์ท เมื่อสตาร์ทจนความถี่, โวล์ต ฯลฯ ได้ค่าปกติแล้ว ก็จะสั่ง Transfer เอาไฟจากเครื่องปั่นไฟ เข้าไปยังระบบทันที ซึ่งระยะการเริ่มทำงานสามารถตั้งเวลา (SET)ได้ โดยจะอยู่ประมาณไม่เกิน 15 วินาที
สะดวกมากครับ^^
Q : 6.ปั๊มน้ำ Inverter คืออะไร?
ปั๊มน้ำอินเวอร์เตอร์ คือ ระบบอินเวอเตอร์จะปรับความเ ร็วรอบ/ ควบคุมรอบการหมุนของมอเตอร์ (ควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ) โดยสัมพันธ์กับปริมาณการใช้ น้ำ (แปรผันตรง) คือเมื่อใช้น้ำปริมาณน้อย เช่น ใช้ 1 จุด มอเตอร์ก็จะหมุนช้า (ความเร็วรอบต่ำ) แต่ถ้าใช้น้ำปริมาณมาก เช่น ใช้หลายจุดพร้อมกัน มอเตอร์ก็จะหมุนเร็วขึ้น กล่าวง่ายๆ ก็คือ ระบบอินเวอร์เตอร์ จะช่วยควบคุมการหมุนของมอเตอร์ให้สัมพันธ์กับปริมาณการใช้น้ำจริง ทำให้ สามารถลดการใช้พลังงานที่เกินความจำเป็นช่วยให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ถึงมากกว่า 50%
Q : การดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ป้องกัน
ผศ.ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า "ร่างกายคนเสมือนเส้นทางเดิน ไฟฟ้า มีอานุภาพร้ายแรงเมื่อไฟฟ้าไหลต่อเนื่องอย่างครบวงจร ซึ่งผู้หญิงและคนที่มีรูป ร่างอวบมีโอกาสเสี่ยงถูกไฟฟ้าดูดมากกว่าผู้ชายเนื่องจากปริมาณน้ำในตัวมีมาก และมีความชื้นในตัวสูงที่จะเป็นตัวนำไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี"
ขณะเดียวกันในหน้าฝนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่มีความชื้นมาก เช่น บริเวณบ่อปลา ปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า ตู้กดน้ำ เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น ตัวอย่างเช่น เครื่องซักผ้าที่เกิดไฟฟ้ารั่วโดยไม่ติดตั้งสายดิน ขณะเดียวกันผู้ใช้งานไม่สวมใส่รองเท้า ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรโดยไหลผ่านตัวคนลงสู่พื้น ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ และทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธี
ทำไมเครื่องใช้ไฟฟ้าควรติดตั้งสายดิน?
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความเสี่ยงสูงควรที่จะติดตั้งสายดิน เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วแทนที่จะวิ่งไปสู่คน กระแสไฟก็จะวิ่งลงดินไปเลย สายดินมีความต้านทานน้อยกว่าเรา กระแสไฟฟ้ามักจะวิ่งไปในสิ่งที่ที่มีความต้านทานน้อยกว่า สายดินที่มีความใหญ่จะยิ่งดี ถ้าติดตั้งสายดินความลึกต้องไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ดินตรงนั้นต้องมีความต้านทานต่ำด้วย ถ้าดินตรงนั้นมีความต้านทานสูงก็ควรปักลึกลงไปอีก หรือมีทางแก้คือ ต้องโรยด่างบริเวณที่จะปักสายดินเพื่อเพิ่มความต้านทานของดินวิธีป้องกันที่ ดีที่สุดก่อนหน้าฝนควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้านและสายไฟ
หากบ้านเก่ากว่า 10 ปีขึ้นไป อุปกรณ์เหล่านี้มีอายุการใช้งานนาน ฉนวนก็มักเสื่อมสภาพตามกาลเวลา
ส่วน บ้านที่มีการติดตั้งปั๊มน้ำ ถ้าปลั๊กเสียบอยู่ต่ำยิ่งจะมีความเสี่ยงมากหากพื้นบริเวณดังกล่าวเปียก ก็อาจเกิดไฟดูดได้ ขณะเดียวกันเต้าเสียบภายในบ้าน ควรอยู่ห่างจากพื้นประมาณ 10 ซม.
กรณีเกิดไฟฟ้ารั่วตอนน้ำท่วมฉับพลัน:
อันดับแรกให้รีบสับสวิตช์ลงเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้ารั่ว การที่จะพิสูจน์ว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่นั้น ห้ามเอาหน้ามือสัมผัส เพราะโดยธรรมชาติของคนเมื่อโดนไฟฟ้าดูดก็จะกำมือลง ร่างกายจะหดตัวกำแน่น ทางที่ดีควรใช้หลังมือสัมผัส
อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลังโดนน้ำท่วม ถ้าจะนำมาใช้ควรจะตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าอยู่ในสภาพที่ยังใช้การได้อยู่หรือ ไม่ สิ่งแรกต้องทำให้แห้งก่อนที่จะเสียบปลั๊ก หากไม่แน่ใจควรให้ช่างผู้ชำนาญมาตรวจสอบก่อน แต่ถ้าอุปกรณ์เหล่านั้นเกิดความเสียหายมาก ก็ไม่ควรเสี่ยงที่จะนำมาใช้งาน
วิธีป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดไฟฟ้าดูด:
หาก จะเสียบปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ต้องมั่นใจว่าร่างกายแห้งสนิทไม่เปียกชื้น บริเวณเต้ารับควรดูแลรักษาให้แห้งอยู่เสมอ หากไม่แน่ใจก่อนเสียบปลั๊กก็ควรสวมรองเท้า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ด้วยความระมัดระวัง และไม่ประมาท ก่อนเกิดเหตุ ควรมีการป้องกันไม่ไปสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าที่รั่วและห้ามใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่โดนน้ำท่วมมาแล้ว ถ้าบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อไฟฟ้ารั่ว หรือมีโอกาสเกิดไฟรั่วได้ง่ายควรติดตัวเบรกเกอร์ป้องกันไว้ก่อน ระหว่างที่เกิดเหตุ บุคคลที่มาช่วยไม่ควรจะไปสัมผัสร่างกายผู้เคราะห์ร้ายโดยตรง ควรหาฉนวน เชือกแห้ง เสื้อแห้ง ๆ ดึง หรือ ผลักออกไป และสิ่งสำคัญควรรู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่เหมาะสม
Q : 7.ซ่อมบำรุงปั๊ม/เครื่องสูบน้ำ เมื่อไรดี? (Overhaul of Pump)
ไม่อาจที่จะระบุระยะเวลาที่แน่นอนได้ เช่นจะเป็นกี่เดือน กี่ปี หรือ กี่ชั่วโมงการทำงาน เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาประกอบ เช่น ชนิดของเครื่องสูบน้ำ ลักษณะการติดตั้งและประเภทของการใช้งาน ใช้บนบกหรือในน้ำ คุณภาพของน้ำ วัสดุหรือโครงสร้างของปั๊มน้ำ การดูแลรักษาทั่วไป (ในขณะใช้งานและเลิกใช้งาน)
อย่างไรก็ดี โดยปรกติทั่วไปก็มีการกำหนดการซ่อมบำรุงโดยถือชั่วโมงการทำงานเป็นหลักอย่างกว้างๆ ได้ดังนี้
• ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ ปั๊มบาดาล (Submersible pump) – 5000 – 6000 ชั่วโมง
• ปั๊มเสตทตั้ง (Vertical turbine pump) – 12000 ชั่วโมง
• ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal pump) – 15000 ชั่วโมง
เอาเป็นว่าหมั่นคอยดูและรักษาปั๊มในยามใช้งานนะครับ^^ หากมีอาการผิดปรกติใดๆ ให้รีบแจ้งช่างทันทีครับ
Q : ข้อแนะนำเล็กๆน้อยๆในการดูแลบ้านยามที่เจ้าบ้านไม่อยู่บ้าน (ช่วงหยุดยาวๆ)
1. ตัดระบบไฟในบ้านเพื่อความปลอดภัยเพื่อความปลอดภัยที่สุด เช่น สวิตช์ทีวี ตู้เย็น หรือ เครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำและอย่าลืมตรวจสอบปลั๊กไฟในส่วนต่างๆของบ้านคเพียงเท่านี้ก็จะสามารถ ช่วยป้องกันเหตุเพลิงไหม้ได้แล้ว
2. ก่อนออกจากบ้าน ต้องปิดประตู – หน้าต่างใส่กลอน และล็อคกุญแจชนิดที่มั่นคง แข็งแรง ให้เรียบร้อยทุกครั้ง และแนะนำให้หยุดรับหนังสือพิมพ์ เพราะหากมีหนังสือพิมพ์หลายฉบับวางกองอยู่ที่ตู้จดหมาย ก็เดาได้ไม่ยากว่า ไม่มีใครอยู่ในบ้าน คนร้ายก็จะถือโอกาสงัดแงะเข้าไปโจรกรรมทรัพย์สินค้าได้
3. ไม่ควรเก็บทรัพย์สินมีค่าหรือเงินสดไว้ในบ้าน ควรจะย้ายที่เก็บที่ปลอดภัยกว่า เช่น ฝากญาติหรือนำไปฝากแบงค์ไว้ก่อน
4. ควรเปิดไฟฟ้าให้มีแสงสว่างทั่วบริเวณบ้าน และถ้าจะให้ดีควรเป็นไฟที่สามารถตั้งเวลาเปิด-ปิดได้ มิจฉาชีพเข้าใจว่ามีคนอยู่ในบ้าน และไม่กล้าเข้ามาโจรกรรมหรือทำร้ายเราได้ และควรหมั่นดูแลอย่าปล่อยให้พื้นที่ว่างเปล่าที่อยู่ติดกับบ้าน มีต้นไม้หรือหญ้าขึ้นรกสูง เพราะจะเป็นจุดซ่อนตัวของมิจฉาชีพที่มาดูลาดเลาหรือเตรียมจะเข้างัดแงะบ้าน หรือเป็นจุดหลบหนีการติดตาม
5.สำหรับคนที่ชอบเล่น Facebook หรือสังคมออนไลน์ต่างๆอย่าไปป่าวประกาศว่า เราจะไม่อยู่บ้านกันทั้งครอบครัวนะ จะไม่อยู่กันหมดเลย ไม่ว่าคนหรือสัตว์เลี้ยง ตั้งแต่วันนี้ถึงวันนั้น หรืออะไรทำนองนี้ ยิ่งบอกรายละเอียดหมด ว่าบ้านอยู่ไหน เลขที่เท่าไหร่ เดินทางไปได้ยังไง ยิ่งไปกันใหญ่ เก็บไว้เป็นเรื่องส่วนตัวดีกว่าครับ
6.ผูก สัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านเอาไว้เสมอ เมื่อจำเป็นต้องออกจากบ้าน ควรแจ้งให้เพื่อนบ้านทราบว่า จะออกไปข้างนอก ฝากให้เขาช่วยดูแลเป็นหูเป็นตาให้ หรืออาจจะฝากเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ไว้ด้วย จะได้สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา
7. เจ้าของบ้านที่มีคนงาน แม่บ้านในบ้าน ควรมีสำเนาบัตรประชาชน, รูปถ่าย และรายละเอียดประวัติส่วนตัวของลูกจ้าง คนงาน หรือคนรับใช้ทุกคนไว้ค่ะ หากเกิดเหตุจะได้มีหลักฐานให้กับตำรวจเพื่อประโยชน์ในการตามจับตัว
8. เมื่อทราบเหตุหรือรู้ว่ามีคนร้ายเข้าบ้าน อย่าคิดจับตัวคนร้ายด้วยตนเอง เพราะอาจได้รับอันตราย ควรขอคำช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน รปภ. หรือแจ้งตำรวจให้ช่วยจับกุมจะดีกว่าคับผม และหากเกิดเหตุแล้ว ไม่ควรเคลื่อนย้ายสิ่งของ และอนุญาตให้บุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานที่เกิดเหตุ จนกว่าจะมีการตรวจสอบและจัดเก็บพยาน – หลักฐานเรียบร้อยแล้วครับ
9. หาที่อยู่ให้กับสัตว์เลี้ยงแสนรักในช่วงที่ไปพักผ่อนยาวๆหากไม่สะดวกที่จะนำ สัตว์เลี้ยงไปด้วย แนะนำให้หาสถานที่รับฝากเลี้ยงน้องหมา น้องแมว จะดีที่สุด ปัจจุบันสถานที่ฝากเลี้ยงมีอยู่มากมายทั้งปลอดภัยและราคาไม่แพงอีกด้วยคร้าบ
Q : 8.ปัญหาปั๊มน้ำ
ปัญหาของปั๊มน้ำเกิดจากได้หลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาเกิดจากสาาเหตุทางด้านท่อดูดมากที่สุด (เพราะต่อท่อดูดโดยไม่ถูกต้องตามเทคนิคของการติดตั้งปั๊ม) ยกตัวอย่างเช่น ท่อรั่ว อันเนื่องจากท่อผุ เก่า หรือ ประกอบไม่แน่น เป็นต้น
อ้างอิง: ปั๊มและระบบสูบน้ำ ของ รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล
Q : รู้จักระบบจ่ายน้ำในอาคาร บ้านเรือน
ระบบการจ่ายน้ำในอาคาร:
ระบบการจ่ายน้ำในอาคาร คือ การส่งน้ำจากท่อน้ำหลัก ไปยังจุดต่างๆที่เราจะต้องการใช้น้ำซึ่งส่วนมากก็จะเป็นพวกห้องน้ำ อ่างล้างจานในครัว ก๊อกน้ำหน้าบ้านหลังบ้าน หรือบางบ้านอาจจะมีอ่างอาบน้ำไฮโซนอกบ้านรวมถึงสระว่ายน้ำด้วยครับ
ระบบของการจ่ายน้ำจะแบ่งเป็น 2 แบบหลักๆ คือ ระบบจ่ายน้ำ
ขึ้น (feed up) และระบบจ่ายน้ำลง (feed down)
ระบบจ่ายน้ำขึ้น:
เป็นระบบง่ายๆ นิยมใช้ตามอาคารที่มีความสูงไม่มาก เช่น บ้านพักอาศัยหรืออาคารไม่เกิน 3 ชั้น โดยเป็นแบบผ่านปั๊มน้ำ
ระบบเป็นอย่างนี้ครับ เราจะต่อท่อประปามาเก็บน้ำไว้ในถังเก็บ
น้ำ (water storage tank) ตัวถังนี้จะออกแบบให้วางอยู่บนดินหรือฝังไว้ใต้ดินก็แล้วแต่ครับ ตามแต่สะดวก แล้วเราก็ต่อปั๊มน้ำเพื่อสูบน้ำจากถังเก็บเข้าไปจ่ายในอาคารตามจุดใช้งาน ต่างๆเลย
ปั๊มน้ำที่ใช้กับระบบนี้จะต้องเป็นปั๊มแบบที่มีถังสะสมความดัน (accumulate tank) สำหรับเก็บน้ำไว้ในถังเพื่อจ่ายไปยังจุดต่างๆปั๊มจะได้ไม่ต้องทำงานแบบเดินๆ หยุดๆ เดี๋ยวปั๊มจะเจ๊งเร็วครับ
ระบบจ่ายน้ำลง:
ระบบนี้เหมาะกับอาคารประมาณ 3 ชั้นขึ้นไป หรือเป็นอาคารที่มีการใช้น้ำเยอะๆ เช่น บ้านพักอาศัยขนาดใหญ่ อาคารพาณิชย์ หอพัก โรงแรม คอนโดมีเนียม และอีกมากมาย
ถ้าเป็นบ้านหรืออาคารเล็กๆ ใช้น้ำน้อยๆ ให้ลองมองระบบจ่ายขึ้น แต่ถ้าเป็นอาคารใหญ่ๆ ใช้น้ำเยอะๆ ให้มองระบบจ่ายน้ำลงครับ
ระบบนี้ก็ไม่ซับซ้อนครับ เราจะต่อท่อน้ำหลักเข้ามาเป็นไว้ในถังที่ชั้นล่าง ซึ่งมีทั้งแบบถังบนดิน หรือบางแห่งจะฝังถังเก็บน้ำไว้ใต้ดินครับ แต่ให้พึงระลึกไว้ว่าการฝังถังไว้ใต้ดินมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแน่นอน ถังก็ต้องเป็นแบบฝังใต้ดินได้ บางงานอาจต้องทำถังแบบคอนกรีตซึ่งแพงและยุ่งยากกว่าถังสำเร็จนะครับ แถมถังน้ำใต้ดินยังดูแลรักษายากกว่า รั่วซึมตรงไหนก็ไม่รู้เพราะอยู่ใต้ดิน ดังนั้นในเลือกระบบให้ลองพิจารณาดูดีๆ มองยาวๆ เผื่อไปถึงผู้ใช้งานระบบด้วยนะครับ
จากถังน้ำชั้นล่าง เราก็จะมีปั๊มน้ำ (transfer pump) เพื่อสูบน้ำส่งขึ้นไปยังถังสูงอีกที ถังด้านบนโดยส่วนมากจะอยู่บนดาดฟ้าหรือหลังคาเค้าเลยเรียกว่า roof tank ถ้าจินตนาการออก ปั๊มตัวนี้มีหน้าที่แต่ย้ายน้ำจากถังล่างไปยังถังบนแค่นั้นเอง มันจะทำงานแบบเต็มกำลัง (full load) เมื่อน้ำบนถังด้านบนเต็มก็พักยาวเลย ไว้น้ำใกล้จะหมดก็ค่อยทำงานใหม่ จะเห็นว่าปั๊มจะไม่ต้องทำงานแบบเดินๆหยุดๆ ซึ่งเป็นข้อดีของระบบนี้เลยครับ
เมื่อน้ำอยู่ในถังสูงแล้ว เราก็จะต่อท่อเพื่อส่งน้ำลงมาจ่ายไปยังจุดใช้งานต่างๆ ความแรงของน้ำขึ้นกับความสูงของถังบน ยิ่งสูงยิ่งแรงครับ เป็นการจ่ายน้ำแบบอาศัยแรงโน้มถ่วง เค้าเลยเรียกว่า gravity flow ครับ อย่างนี้ชั้นล่างน้ำจะแรงที่สุด เพราะอยู่ห่างจากถังมากที่สุด ปัญหาจะอยู่ตรงที่ชั้นสูงๆ เพราะอยู่ใกล้ถังน้ำจึงมีระยะห่างจากถังเก็บน้ำด้านบนน้อยทำให้แรงดันของน้ำ ไม่พอใช้ วิธีการคือเราก็ติดตั้งปั๊มน้ำ สำหรับจ่ายน้ำให้แค่ชั้นบนๆที่แรงดันน้ำจากถังไม่พอนั่นเอง ปั๊มตัวนี้เค้าเรียกว่า booster pump และเป็นปั๊มแบบที่มีถังเก็บความดันของน้ำเหมือนกับระบบจ่ายขึ้นนะครับ เพราะจะช่วยให้ปั๊มไม่ต้องทำงานเดินๆหยุดๆเหมือนกันครับ
ที่มา:จารุตม์ คุณานพดล
Q : 8.1ปั๊มน้ำจ่ายน้ำออกมาน้อย
อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังนี้
1. เพลาหรือปลอกเพลา (Shaft sleeves) ชำรุดที่ประเก็นกันรั่ว (Packing)
2. ติดตั้งประเก็นเชือก (Packing) ไม่ถูกต้อง
อ้างอิง: ปั๊มและระบบสูบน้ำ ของ รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล
Q : พัดลมไอเย็น คือ อะไรน้า?
พัดลมไอเย็น คือ อะไรน้า?
พัดลมไอเย็น ทำงานด้วยการดึงความร้อนของอากาศ (Evaporative Cooling Systems) ผ่านแผ่นทำความเย็น (Cooling Pad-แผ่นที่มีลักษณะคล้ายรังผึ้ง มีน้ำหล่อเลี้ยง หรือเป็นม่านน้ำ) จนน้ำระเหยออก เหลือไว้เพียงอุณหภูมิที่ลดลง และกลายเป็นไอเย็นที่ส่งออกมา จึงทำให้พื้นที่โดยรอบรู้สึกเย็นสดชื่น เป็นธรรมชาติ ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งสามารถลดอุณหภูมิได้เฉลี่ย 4-10องศา เหมาะกับการใฃ้งานทั้งในร่ม และ กลางแจ้ง ช่วยให้อากาศเกิดการถ่ายเท ไล่อากาศร้อน ระบายกลิ่นอับ กรองดักฝุ่นได้ดี ติดตั้งง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก ที่สำคัญประหยัดไฟมากๆๆๆ เลยคร้าบ
Q : 8.2ปั๊มไม่จ่ายน้ำ
อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ไม่ได้เติมน้ำก่อนเดินเครื่อง หรือไม่มีน้ำอยู่ในห้องสูบ (ไม่ได้ล่อน้ำ/ หรือการล่อน้ำไม่สมบูรณ์)
2. ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
3. ระยะดูดยกสูง (Suction lift) เกินไป
4. NPSHa น้อยกว่า NPSHr
5. มีโพรงอากาศ (Air Pocket) ในท่อดูด
6. ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
7. ความเร็วต่ำเกินไป
8. ใบพัดหมุนผิดทาง
9. เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
10. ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
11. มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
อ้างอิง: ปั๊มและระบบสูบน้ำ ของ รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล
Q : 8.3ตลับอัดกันรั่ว(Stuffing box) รั่วมากผิดปกติ
อ้างอิง: ปั๊มและระบบสูบน้ำ ของ รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล
Q : 8.4 ปั๊มสั่นหรือมีเสียงดัง
อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังนี้
1. ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
2. ระยะดูดยก(Suction lift)สูงเกินไป
3. NPSHa น้อยกว่า NPSHr
4. ฟุตวาล์วเล็กเกินไป
5. ฟุตวาล์วอุดตัน
6. ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
7. ให้ปั๊มทำงานที่อัตราการสูบต่ำมาก
8. มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
9. เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
10. แท่นปั๊มและต้นกำลังไม่มั่นคงแข็งแรง
11. เพลาคด
12. ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
13. ลูกปืน (Bearing) สึก
14. ใบพัดชำรุด
15. เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
16. ใบพัดหรือชิ้นส่วนที่หมุนอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดสั่น
17. มีแรงกดดันมากเกินไปโดยมีสาเหตุมาจากการชำรุดของชิ้นส่วนภายใน หรือการชำรุดของอุปกรณ์ควบคุมความสมดุลย์ของแรงดันของของเหลว
18. มีไขหรือน้ำมันหล่อลื่นในช่องที่ติดตั้งตลับลูกปืนมากเกินไป หรือมีการระบายความร้อนไม่ดีจึงทำให้มีอุณหภูมิสูง
19. ขาดวัสดุหล่อลื่น
20. ติดตั้งรองลื่นไม่ถูกต้อง เช่นลูกปืนแตกหรือชำรุดขณะติดตั้งใช้ขนาดที่ไม่เหมาะสม
21. มีสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ในตลับลูกปืนหรือรองลื่น
22. สนิมขึ้นในตลับลูกปืนหรือรองลื่นเนื่องจากน้ำรั่วเข้าไปได้
23. อุณหภูมิของน้ำที่สูบเย็นมากทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในช่องตลับลูกปืน
อ้างอิง: ปั๊มและระบบสูบน้ำ ของ รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล
Q : 8.5ปั๊มต้องการกำลังงานมากผิดปกติ
อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังนี้
1. ความเร็วสูงเกินไป
2. ใบพัดหมุนผิดทาง
3. เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
4. เฮดรวมของระบบต่ำกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
5. ความถ่วงจำเพาะของของเหลวต่างจากที่ออกแบบไว้
6. ความหนืด (Viscosity) ของของเหลวต่างจากที่ได้ออกแบบไว้
7. มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
8. เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
9. เพลาคด
10. ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
11. แหวนกันสึก (Wearing ring) สึกมาก
12. ติดตั้งประเก็นเชือก (Packing) ไม่ถูกต้อง
13. ประเภทของกันรั่วไม่เหมาะกับสภาพการทำงาน
14. ต่อมหล่อลื่น (Gland) แน่นเกินไป เป็นผลให้ไม่มีสิ่งหล่อลื่นไหลไปสู่กันรั่ว (Packing)
อ้างอิง: ปั๊มและระบบสูบน้ำ ของ รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล
Q : 8.6 ปั๊มเริ่มต้นจ่ายน้ำแล้วขาดหายไป
อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังนี้
1. ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
2. ระยะดูด(Suction lift)ยกสูงเกินไป
3. มีฟองอากาศหรือก๊าซในของเหลวมากเกินไป
4. มีโพรงอากาศ (Air Pocket) ในท่อดูด
5. ท่อดูดรั่ว อากาศเข้าไปในท่อได้
6. อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบผ่านตลับอัดกันรั่ว (Stuffing box)
7. ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
8. ประเก็นท่อน้ำอุดตัน น้ำไม่สามารถไหลเข้าไปทำหน้าที่ได้ทำให้อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบ
9. ติดตั้ง Seal cage ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องในตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ทำให้น้ำไม่สามารถไหลผ่านได้
อ้างอิง: ปั๊มและระบบสูบน้ำ ของ รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล
Q : 8.7ปั๊มให้แรงดันน้ำน้อย
อาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
1. มีฟองอากาศหรือก๊าซในของเหลวมากเกินไป
2. ความเร็วต่ำเกินไป
3. ใบพัดหมุนผิดทาง
4. เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
5. ความหนืด (Viscosity) ของของเหลวต่างจากที่ได้ออกแบบไว้
6. ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
7. แหวนกันสึก (Wearing ring) สึกมาก
8. ใบพัดชำรุด
9.แผ่นประเก็น (Gasket) ของห้องสูบชำรุด ทำให้มีการรั่วภายใน
อ้างอิง: ปั๊มและระบบสูบน้ำ ของ รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล
Q : 8.8ป๊มร้อนจัดเวลาทำงานหรือหมุนฝืด
อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังนี้
1. ไม่ได้เติมน้ำก่อนเดินเครื่อง หรือไม่มีน้ำอยู่ในห้องสูบ
2. NPSHa น้อยกว่า NPSHr
3. ให้ปั๊มทำงานที่อัตราการสูบต่ำมาก
4. ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
5. เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
6. ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
7. ลูกปืน (Bearing) สึก
8. เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
9. มีแรงกดดันมากเกินไปโดยมีสาเหตุมาจากการชำรุดของชิ้นส่วนภายใน หรือการชำรุดของอุปกรณ์ควบคุมความสมดุลย์ของแรงดันของของเหลว
อ้างอิง: ปั๊มและระบบสูบน้ำ ของ รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล
Q : 8.9อายุการใช้งานของกันรั่ว (Packing Seal) สั้นผิดปรกติ
อากเกิดขึ้นได้จาดสาเหตุดังนี้
1. ติดตั้งกันรั่ว หรือประเก็นเชือก (Packing) ไม่ถูกต้อง
2. ท่อน้ำกันรั่วอุดตัน น้ำไม่สามารถไหลเข้าไปทำหน้าที่ได้ทำให้อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบ
3. ติดตั้ง Seal cage ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องในตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ทำให้น้ำกันรั่วไม่สามารถไหลเข้าไปทำหน้าที่ได้
4. เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
5. เพลาคด
6. ตลับลูกปืน(Bearing) สึก
7. เพลาหรือปลอกเพลา (Shaft sleeves) ชำรุดที่กันรั่วหรือประเก็นเชือก (Packing)
8. ประเภทของกันรั่วไม่เหมาะกับสภาพการทำงาน
9. เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
10. ใบพัดหรือชิ้นส่วนที่หมุนอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดสั่น
11. ต่อมหล่อลื่น (Gland) แน่นเกินไป เป็นผลให้ไม่มีสิ่งหล่อลื่นไหลไปสู่กันรั่ว หรือ ประเก็นเชือก (Packing)
12. ไม่มีน้ำไหลไประบายความร้อนตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ประเภทระบายความร้อนด้วยน้ำ
13. ช่องว่าง(Clearance) ระหว่างเพลากับเรือนปั๊ม(Casing)ที่ด้านล่างของตลับอัดกันรั่วมากเกินไป ทำให้กันรั่วถูกดันเข้าไปในห้องสูบ
14. มีสิ่งสกปรกหรือกรวดทรายในน้ำยากันรั่ว (Sealing Liquid) ทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนเพลาหรือปลอกเพลา
อ้างอิง: ปั๊มและระบบสูบน้ำ ของ รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล
Q : 8.9 อายุการใช้งานของตลับลูกปืน (Bearing) สั้นผิดปกติ
1. เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
2. ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่(Bearing) สึก
3. เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
4. มีแรงกดดันมากเกินไปโดยมีสาเหตุมาจากการชำรุดของชิ้นส่วนภายใน หรือการชำรุดของอุปกรณ์ควบคุมความสมดุลย์ของแรงดันของของเหลว
5. ขาดวัสดุหล่อลื่น
6. อุณหภูมิของน้ำที่สูบเย็นมากทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในช่องตลับลูกปืน
7. มีสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ในตลับลูกปืนหรือรองลื่น
อ้างอิง: ปั๊มและระบบสูบน้ำ ของ รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล
Q : การดูเสป็คของปั๊มน้ำอย่างง่ายๆ
ก่อนการเลือกซื้อปั๊มน้ำ เราควรทำความเข้าใจกับสเปคและรายละเอียดต่างๆ กันก่อน เพื่อช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
หน่วยวัด:
1. หน่วยวัดการไหลของน้ำ ที่ปั๊มน้ำสามารถทำได้ หน่วยที่นิยมใช้กันก็มีดังนี้
ลิตรต่อนาที L/min (หมายความว่าภายใน 1 นาทีมีน้ำไหลผ่านได้ 1 ลิตร )
ลูกบากศ์เมตรต่อชั่วโมง m3/hr (หมายความว่าภายใน 1 ชั่วโมงมีน้ำไหลผ่านได้ 1 ลูกบากศ์เมตร)
2. หน่วยวัดความสูงที่ปั๊มน้ำสามารถส่งขึ้นไปในแนวตั้งได้ หน่วยวัดที่นิยมใช้มีแค่หน่วยเดียวคือ M (เมตร)
3. หน่วยวัดกำลังมอเตอร์ของปั๊มน้ำ มีแค่ 2 อย่างที่เราจะเห็นตามแค๊ตตาล็อกทั่วไป
HP แรงม้า(ประมาณ 750 วัตต์ = 1 แรงม้า)
Kw กิโลวัตต์ (1000 วัตต์ = 1 กิโลวัตต์)
4. เฮด (Head) เฮด (Head) คือความสูง ความแตกต่างระหว่างระดับต่างๆและความชัน ในกรณีของปั้มน้ำ ปั้มน้ำที่มีปริมาณการไหลของน้ำเท่ากับ Q ลิตร ที่เฮด (Head) 30 เมตร หมายความว่า สามารถดันน้ำ Q ลิตรขึ้นไปในแนวตั้งได้ 30 เมตร ทุกๆระยะเวลาต่อนาทีปริมาณ Q ลิตร สำหรับปั้มน้ำโดยทั่วไป เฮด (Head) ของปั้มน้ำ สามารถหาได้จากเอกสารแสดงข้อมูลทางเทคนิคของปั้มจากทางผู้ผลิตโดยปริมาณ เฮด (Head) ของปั้มส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับขนาด และความเร็วในการหมุนของใบพัดปั้มน้ำ
อธิบายเพิ่มเติม:
1.ปริมาณการไหล (Flow) ปริมาณการไหล (Flow) คือปริมาตรของเหลวที่ไหลผ่านพื้นผิว/ช่องต่างๆ เช่น ปริมาณการไหลของน้ำที่ไหลผ่านทางน้ำออกของปั้มหรือท่อส่งน้ำต่อ 1 หน่วยเวลา
ปริมาณการไหลของน้ำสามารถวัดได้ในหน่วย ลิตร/นาที หรือ ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง ปริมาณการไหลของน้ำในท่อ และปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านสายไฟนั้นมีหลักการค่อนข้างคล้ายกัน โดย เฮด (Head) ของของเหลวจะเหมือนกับแรงเคลื่อนไฟฟ้า โวลท์ (V) และปริมาณการไหลของของเหลวก็จะเปรียบเหมือนกับปริมาณกระแสไฟฟ้า แอมป์ (A) และปัจจัยที่ทำได้ค่าเหล่านี้เปลี่ยนแปลงก็ยังเหมือนกันอีก ด้วยสายไฟเส้นเล็กจะไมสามารถจ่ายไฟได้มากเท่ากับสายไฟเส้นใหญ่ เช่นเดียวกันกับท่อน้ำที่มีขนาดเล็กก็จะส่งน้ำได้น้อยกว่าท่อน้ำขนาดใหญ่ (ขนาดของท่อส่งสามารถใช้ท่อให้ใหญ่กว่าทางออกของปั้มน้ำได้ โดยให้ดูจากปริมาณน้ำที่ปั้มน้ำสามารถจ่ายน้ำได้) ในกรณีของน้ำ ค่าแรงต้านทานก็คือค่า Head Loss วึ่งจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของท่อที่ใช้(วัตถุดิบที่ใช้ รูปร่าง และพื้นผิวภายในท่อ โดยที่ความเร็วของน้ำที่ไหลผ่านก็มีส่วนด้วย)
2.ขนาด ของท่อ (Pipe) ขนาดของท่อและชนิดของท่อมีความสำคัญในการใช้งาน ขนาดของท่อที่เล็กย่อมทำให้น้ำไหลผ่านได้น้อย ท่อที่ใหญ่น้ำย่อมผ่านได้มากกว่า ชนิดของท่อก็มึผลกับการไหลของน้ำด้วยเช่นกัน แต่ไม่ต้องตกใจหรือกังวลไปดูไว้คราวๆก็พอ เวลาเลือกใช้งานจริงก็อย่าขี้เหนียวนักจะได้ไม่ต้องเสียเงินซ้ำซ้อนเปลี่ยน ท่อใหม่
3.แรงดันที่สูญเสียไป (Head Loss) แรงดันที่สูญเสียไป (Head Loss) คือแรงดันของน้ำที่สูญเสียไประหว่างที่ไหลผ่านท่อ กรองน้ำ ข้อต่อ วาล์ว แรงดันที่สูญเสียไปเนื่องจากแรงเสียดทานนี้ ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ในระบบไฟฟ้า แรงเคลื่อนไฟฟ้าจะลดลงถ้ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ในนระบบน้ำก็เช่นเดียวกัน น้ำจะสูญเสียแรงดันมากขึ้นตามความเร็วของน้ำในระบบ ดังนั้นถ้าในระบบน้ำมีการใช้ขนาดของท่อเล็กกว่าปกติ ตัวกรองน้ำเกิดการอุดตันหรือหัวจ่ายน้ำเกิดดการอุดตัน แรงดันก็จะสูญเสียมากขึ้นตามไปด้วย และมีผลให้ปริมาณน้ำลดลง
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Internet